BAC

BAC ใช้การพิมพ์ 3 มิติจาก Ultimaker ยกระดับการออกแบบซุปเปอร์คาร์

ในการออกแบบผลิตภัณฑ์แต่เดิมนั้น ต้องคำนึงถึงความสามารถในการผลิตว่าผลิตได้จริงไหม การออกแบบจำเป็นต้องปรับให้เข้ากับกระบวนการผลิตที่สามารถทำได้ ในขณะที่การพิมพ์ 3 มิติมีข้อได้เปรียบในเรื่องของอิสระในการออกแบบผลิตภัณฑ์เนื่องจากเป็นการพิมพ์ทีละชั้นตามไฟล์ CAD จากคอมพิวเตอร์ และยังให้ความยืดหยุ่นสูงในการผลิตแบบชิ้นเดียวหรือในปริมาณน้อย สามารถปรับแต่งตามความต้องการของลูกค้าแต่ละรายได้ 

ในแวดวงการออกแบบและผลิตรถสปอร์ต มีการใช้การพิมพ์ 3 มิติกันอย่างแพร่หลายเพราะได้ชิ้นงานที่เร็ว ไม่ต้องใช้ผู้ผลิตรายอื่นซึ่งจะมีระยะเวลาขนส่งทำให้ล่าช้า หากต้องการปรับแต่งก็ต้องส่งชิ้นงานไปแก้ใหม่ทำให้เสียเวลามาก ทีมรถแข่งหรือผู้ผลิตซุปเปอร์คาร์จึงเลือกที่จะร่วมมือกับเจ้าของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ และถือครองเครื่องพิมพ์ 3 มิติ จำนวนหลายเครื่องเพื่อที่จะผลิตได้ด้วยตนเอง อีกทั้งยังสะดวก รวดเร็ว และมีความยืดหยุ่นสูง

Ian Brigges ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบของ  BAC กับรถแข่ง BAC Mono R 

(ที่มา: motorsport.tech)

Briggs Automotive Company (BAC) บริษัทผลิตซุปเปอร์คาร์ที่มีชื่อเสียงสัญชาติอังกฤษ ใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ‘Ultimaker’ ในการออกแบบและผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ ตามที่ลูกค้าต้องการสำหรับรถสปอร์ตระดับไฮเอนด์ การพิมพ์ 3 มิติช่วยให้ทีมสามารถออกแบบได้อย่างอิสระมากขึ้นเพื่อรูปทรงที่ซับซ้อนหรือยากที่จะผลิตแบบเดิม

Each Mono R vehicle is individually tailored to the customers' specifications.

รถ Mono R แต่ละคัน มีการปรับแต่งให้เข้ากับสเปกของลูกค้าแต่ละราย

(ที่มา: Ultimaker)

Briggs Automotive Company (BAC) ก่อตั้งเมื่อปี 2009 โดยสองพี่น้อง Neill และ Ian Briggs ที่มีความหลงใหลในโลกแห่งรถยนต์ ในอีก 2 ปีต่อมา BAC ได้ปฏิรูปอุตสาหกรรมยานยนต์ด้วยรถ BAC Mono ซุปเปอร์คาร์ที่นั่งเดียวคันแรกที่สามารถวิ่งบนถนนได้อย่างถูกกฎหมาย BAC Mono เป็นการนำวิสัยทัศน์ของพี่น้องคู่นี้ที่จะมอบประสบการณ์การขับขี่แท้จริงที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีการแข่งรถที่ทันสมัยที่สุด

Ian Briggs ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบของ BAC กล่าวว่า “เราเริ่มผลิตรถยนต์ที่เกี่ยวกับกีฬายานยนต์ โดยได้แรงบันดาลใจมาจากนิยายวิทยาศาสตร์ หุ่นยนต์ สิ่งต่าง ๆ จากอนาคต สำหรับผู้ที่รักในการขับขี่อย่างเรา เราต้องการโฟกัสไปที่รูปลักษณ์และความรู้สึกที่ดูล้ำสมัย”

BAC ปรับปรุงและการอัปเกรด Mono R ครั้งใหญ่ โดยสามารถเร่งความเร็วจาก 0-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้ใน 2.5 วินาที Mono R เป็นเครื่องยืนยันศักยภาพของเทคนิคการผลิตสมัยใหม่อย่างแท้จริง

ผู้นำด้านเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมยานยนต์

BAC เป็นผู้คิดริเริ่มและพัฒนานวัตกรรมรวมถึงแนวคิดใหม่ ๆ ให้กับโครงการวิจัยและพัฒนาต่าง ๆ จึงเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้ BAC จึงเป็นผู้ริเริ่มนำการพิมพ์ 3 มิติมาใช้ในยุคแรก ๆ รวมถึงรถ Mono R สำหรับผู้ที่ชื่นชอบและสะสมรถสปอร์ตก็ใช้การพิมพ์ 3 มิติในการผลิตและออกแบบเนื่องจากเป็นการผลิตชิ้นส่วนชุดเล็กตามความต้องการชองลูกค้า เครื่องจักร CNC หรือการหล่อฉีดขึ้นรูปไม่มีความจำเป็นสำหรับการผลิตในระดับนี้

ระบบนิเวศการพิมพ์ 3 มิติของ Ultimaker ทำให้ BAC สามารถผลิตชิ้นส่วนคุณภาพสูงที่ปรับแต่งได้อย่างรวดเร็ว ราคาไม่แพง มีการปรับปรุงให้ดีขึ้นด้วยการออกแบบซ้ำ ลดต้นทุน และให้เกิดประสิทธิภาพการผลิตโดยรวม

“วันแรก ๆ การพิมพ์ 3 มิติถือว่าเป็นการทำต้นแบบอย่างรวดเร็ว (Rapid Prototyping) แต่ตอนนี้ชิ้นส่วนของรถกว่า 44 ชิ้น ใช้การพิมพ์ 3 มิติ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างเครื่องยนต์ ฐานรองกระจกมองข้าง ไฟรอบทิศทาง เราเปิดรับการพิมพ์ 3 มิติและอิสระในการออกแบบอย่างแท้จริง ระบบนิเวศของ Ultimaker ทำให้เราสามารถนำปัญหาหรือมุมมองต่าง ๆ ในการผลิตมารวมกันเพื่อนำมาปรับปรุงให้เกิดประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องและจัดเก็บในที่เดียวกัน” Ian Briggs กล่าว

วิศวกรของ BAC ใช้เฉพาะเครื่องพิมพ์ 3 มิติของ Ultimaker เท่านั้น และปัจจุบันมีการใช้งานเครื่องพิมพ์ 3 มิติ Ultimaker S5 อยู่ 3 เครื่อง BAC ผลิตและทดสอบการออกแบบซ้ำหลาย ๆ ครั้งอย่างรวดเร็ว โดยรวบรวมฟีดแบคหรือปรับแต่งตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งการทำซ้ำ ๆ ทำให้สามารถสร้างชิ้นส่วนที่มีการปรับแต่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทางการยศาสตร์ และความสวยงาม การใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ Ultimaker ทำให้ BAC สามารถผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ ได้ตามต้องการ ลดการเก็บของสินค้าคงคลังเอาไว้เป็นจำนวนมาก

Ultimaker Digital Factory เป็นแหล่งรวบรวมและปฏิบัติการพิมพ์ 3 มิติให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตั้งแต่การออกแบบซ้ำ การเตรียมการพิมพ์ ไปจนถึงการพิมพ์และการปรับแต่งรายละเอียดหลังการพิมพ์ Digital Factory สามารถจัดเก็บไฟล์ดิจิทัล พารามิเตอร์การพิมพ์ การตั้งค่า และสเปกของวัสดุ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะรักษาความสม่ำเสมอและสามารถทำซ้ำในการพิมพ์อีกหลายชุด นอกจากนี้การเข้าถึงจากทางไกลยังทำให้ตรวจสอบและควบคุมเครื่องพิมพ์ในสายการผลิตให้ทำงานได้ตามความต้องการตลอด 24 ชั่วโมง 

Thomas Tunstall ช่างเทคนิคงานตัวถังและผู้ปฏิบัติการเครื่องพิมพ์ 3 มิติที่ BAC กล่าวว่า “Ultimaker Digital Factory ช่วยให้กระบวนการผลิตในการสร้างต้นแบบให้กับชิ้นส่วนการผลิตของ BAC ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น ผมสามารถที่จะแบ่งส่วนงานพิมพ์ไว้ล่วงหน้าและบันทึกลงในคลังสินค้าดิจิทัล ซึ่งช่วยให้ผมประหยัดเวลาได้มาก Digital Factory ยังช่วยจัดการเครื่องพิมพ์หลายเครื่องด้วยซอฟต์แวร์ของเรา ซึ่งทำให้ผมสามารถจัดการได้ทั้งเครื่องพิมพ์ โปรเจกต์ และทีมงานได้จากทางไกล”

โครงการ Ultimaker Material Alliance ทำให้ BAC สามารถเลือกใช้วัสดุเกรดอุตสาหกรรมได้อย่างหลากหลาย ซึ่งผ่านการทดสอบ รับรอง และปรับให้เหมาะสมเพื่อใช้กับเครื่องพิมพ์ 3 มิติ Ultimaker และ BAC เลือกใช้วัสดุ Addigy สำหรับทุกชิ้นส่วนบน Mono R รวมถึงไนลอนไฟเบอร์คาร์บอนสำหรับชิ้นส่วนที่ต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรง เช่น แขนกระจกที่รองรับกระจกมองข้างและต้องรับแรงมากจากอากาศที่ปะทะเข้ามาระหว่างรถวิ่ง

รถ Mono R แต่ละคัน มีการปรับแต่งให้เข้ากับสเปกของลูกค้าแต่ละราย เช่น เบาะรองนั่ง มือจับพวงมาลัย โทนสีของรถ ออกแบบมาให้เหมาะกับคนขับ การพิมพ์ 3 มิติทำให้ BAC สามารถพิมพ์ชิ้นส่วนได้จำนวนมากบน BAC Mono R นอกจากนี้ลูกค้ายังสามารถเพิ่มชื่อย่อและหมายเลขลงบนรถหรือพวงกุญแจได้

“ในฐานะผู้ผลิตรายแรกที่ก้าวเข้าสู่วงการพิมพ์ 3 มิติ สิ่งที่สำคัญมากสำหรับเรา คือ การได้รับการสนับสนุน ทุกอย่างเป็นเรื่องใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักร วัสดุ และการออกแบบชิ้นส่วน ซึ่งการสนับสนุนเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีนี้มาใช้” Briggs กล่าว

สามารถชมคลิปวิดีโอเกี่ยวกับรถ BAC Mono R ได้ตามลิงก์ด้านล่าง

สามารถอ่านบทความ แมคลาเรนก็ใช้การพิมพ์ 3 มิติในการพัฒนารถแข่งฟอร์มูล่าวัน ได้ตามลิงก์ด้านล่าง

บทความอ้างอิง: https://www.etmm-online.com/

บทความที่น่าสนใจ

About The Author