การเก็บข้อมูลและคำนวณการปล่อยคาร์บอน

การเก็บข้อมูลและคำนวณการปล่อยคาร์บอน ช่วยปูทางสู่การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ในปัจจุบันกฎหมายภาษีคาร์บอนข้ามแดนกำลังเริ่มมีผลบังคับใช้ นอกเหนือจากการปรับกระบวนการต่าง ๆ เพื่อลดการปล่อยคาร์บอน ผู้ผลิตเพื่อส่งออกต้องมีการจัดทำรายงานประกาศคาร์บอนฟุตพรินต์ในผลิตภัณฑ์ของตนเองเพื่อเป็นการยืนยันการผ่านเกณฑ์ตามกฎของสหภาพยุโรป ในส่วนนี้ทำให้บริษัทต้องมีการจัดเก็บข้อมูลในกระบวนการ เพื่อนำมาคำนวณประเมินการปล่อยคาร์บอน สามารถแจกแจงที่มาที่ไป และยืนยันเป็นหลักฐานประกอบในกระบวนการศุลกากรผ่านเข้าไปยังสหภาพยุโรปได้ 

ในส่วนของสหภาพยุโรปเองก็มีคำสั่ง CSRD – Corporate Sustainability Reporting Directive ที่กำหนดให้บริษัทขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนในสหภาพยุโรปต้องเผยแพร่รายงานความเสี่ยงทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่พวกเขาประสบ รวมถึงผลกระทบต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมที่พวกเขาทำ บทความนี้จะเล่าถึงการปรับตัวสู่การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของบริษัทพลาสติกและการแพทย์แห่งหนึ่งในสหภาพยุโรป

สิ่งใดที่สามารถวัดได้ ย่อมสามารถบริหารจัดการให้ดีขึ้นได้

Carmo บริษัทพลาสติกและซัพพลายเออร์ทางการแพทย์ เตรียมพร้อมสำหรับข้อกำหนดเกี่ยวกับรายงานฟุตพรินต์ที่จะมีในอนาคต ด้วยเครื่องมือคำนวณ CO2 ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่

In addition to reporting the final environmental footprint of a product, the calculator also plays a decisive role in developing products with the customers.

นอกจากการรายงานฟุตพรินต์ทางสิ่งแวดล้อมขั้นสุดท้ายของผลิตภัณฑ์แล้ว ตัวคำนวณการปล่อยคาร์บอนยังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์กับลูกค้าอีกด้วย

(ที่มา: Carmo)

CSRD – Corporate Sustainability Reporting Directive*  คือ คำสั่งใหม่ด้าน ESG** ของสหภาพยุโรปกำหนดให้บริษัทที่จดทะเบียนรายใหญ่ในยุโรปเพิ่มการจัดเตรียมเอกสารเกี่ยวกับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในการผลิตของตน คำสั่งใหม่นี้ยังมีผลกระทบต่อผู้จัดจำหน่ายต่าง ๆ เช่น ผู้ผลิตพลาสติกอย่าง Carmo ที่จะต้องรายงานข้อมูลฟุตพรินต์ทางสิ่งแวดล้อมที่มากขึ้นกว่าแต่ก่อน

* CSRD (Corporate Sustainability Reporting Directive) คือ คำสั่งการรายงานความยั่งยืนของบริษัท

** ESG (Environmental, Social, Governance) คือ ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล

อย่างไรก็ตาม Carmo บริษัทสัญชาติเดนมาร์กแห่งนี้มีการเตรียมพร้อมมาเป็นอย่างดีสำหรับข้อกำหนดใหม่ โดยทำงานอย่างเข้มข้นมาเป็นเวลาหลายปีในการทำแผนผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งนี่เป็นจุดเริ่มต้นของการนำไปสู่การพัฒนาเครื่องคำนวณคาร์บอนฟุตพรินต์ของ Carmo

“การเก็บรวบรวมข้อมูลของเราได้มาไกลในระดับที่เราสามารถคำนวณและรายงานได้อย่างแม่นยำว่าสิ่งใดของการผลิตที่ทำให้เกิดคาร์บอนฟุตพรินต์โดยรวมของผลิตภัณฑ์ รวมถึงผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศจากการใช้ไฟฟ้า การปล่อยคาร์บอนจากการขนส่ง การผลิตวัตถุดิบ และของเสียจากการผลิตโดยประมาณของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ด้วยเหตุนี้เราจึงสามารถจัดทำรายงานคาร์บอนฟุตพรินต์ที่จัดเก็บเป็นเอกสารไว้เป็นอย่างดีและตรงตามข้อกำหนดของ CSRD ด้วย” Anders Johnsen ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาและเทคโนโลยีของ Carmo กล่าว

เครื่องคำนวณคาร์บอนฟุตพรินต์ช่วยในการออกแบบผลิตภัณฑ์

นอกจากการรายงานฟุตพรินต์ทางสิ่งแวดล้อมขั้นสุดท้ายของผลิตภัณฑ์แล้ว ตัวคำนวณการปล่อยคาร์บอนยังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์กับลูกค้าอีกด้วย“เครื่องมือใหม่นี้ทำให้เราสามารถสร้างเงื่อนไขการออกแบบและข้อเสนอการปรับปรุงที่อยู่ขึ้นอยู่กับข้อมูลได้ เพราะเราสามารถจำลองการเปลี่ยนแปลงการออกแบบได้จากความช่วยเหลือของเครื่องคำนวณคาร์บอนฟุตพรินต์ ทำให้เรามีเงื่อนไขที่เหมาะสมที่สุดในการพัฒนาโซลูชันที่ตรงตามความต้องการของลูกค้า นอกจากนี้เรายังใช้บันทึกผลที่ได้จากการออกแบบใหม่และการเปลี่ยนแปลงการผลิตของผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ด้วย” Anders Johnsen กล่าว

นอกจากนี้ Anders Johnsen มีการนำเสนอ ‘Super Valve’ ผลิตภัณฑ์ที่เป็น Signature ของ Carmo เป็นวาล์วหมุนพิเศษสำหรับถุงปัสสาวะ Anders และทีมงานของเขาได้ปรับปรุงการออกแบบและวิธีการผลิตวาล์วให้เหมาะกับความต้องการของลูกค้ามากขึ้น นอกจากนี้การออกแบบใหม่ยังช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้ถึง 28 เปอร์เซ็นต์เมื่อเปรียบเทียบกับวาล์วที่ผลิตแบบเดิม เท่ากับการปล่อยคาร์บอนลดลง 13.3 กิโลกรัมสำหรับการผลิตวาล์วทุก 1,000 ชิ้น ข้อมูลนี้ได้รับการบันทึกผ่านการคำนวณคาร์บอนจาก Viegand Maagøe บริษัทที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนที่ช่วย Carmo เรื่องการเปลี่ยนผ่านสีเขียว (Green Transition)

ปัจจุบัน วาล์วสามารถเปิดได้ถึง 180° (จากเดิม 90°) ทำให้ใช้งานได้ง่ายขึ้นและใช้พื้นที่น้อยลงทั้งในตอนเปิดและปิด การประสบความเร็จในการลดการปล่อยคาร์บอนสามารถทำได้โดยปรับปรุงการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การผลิตวาล์วให้เป็นชิ้นเดียวบนเครื่องจักรเดียว และใช้วัสดุน้อยลงกว่าวาล์วหมุนที่ผลิตแบบเดิม

ทำไมถึงต้องมีภาษีคาร์บอน?

ในความเป็นจริงภาษีคาร์บอนข้ามแดนเป็นรูปแบบหนึ่งของการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Barrier) เพื่ออำนวยความได้เปรียบให้กับบริษัทผู้ผลิตภายในประเทศ ให้งานผลิตมีการย้ายฐานกลับเข้าสู่สหภาพยุโรปมากขึ้น แทนการจ้างผลิตจากประเทศที่มีแหล่งแรงงานราคาถูกอย่างจีนเช่นในอดีต เพราะประเทศในสหภาพยุโรปเสียเปรียบในเรื่องต้นทุนแต่สามารถมีข้อได้เปรียบในเรื่องการปล่อยคาร์บอนได้ เพราะใช้เครื่องจักรรุ่นใหม่ประสิทธิภาพสูง อีกทั้งไม่ต้องมีการขนส่งที่ปล่อยคาร์บอนเพิ่มด้วย อีกปัจจัยหนึ่ง คือ เรื่องของภูมิรัฐศาสตร์ที่ห่วงโซ่อุปทานจะมีการแบ่งเป็นภูมิภาคมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ประกอบกันเพื่ออำนวยให้การจ้างงานผลิตกลับมาสู่สหภาพยุโรปมากขึ้น แต่ถึงกระนั้น สิ่งนี้กลับเป็นข้อดีสำหรับโลกในการขับเคลื่อนเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติสภาพอากาศ เพราะการขับเคลื่อนเรื่องสิ่งแวดล้อมจะกระทำไม่ได้ หากไม่นำเรื่องนี้มาผูกกับต้นทุน และให้เป็นเงื่อนไขของการค้าขายกับสหภาพยุโรป สิ่งเหล่านี้เป็นพลวัตที่กำลังดำเนินไปในห่วงโซ่อุปทานของโลกการผลิตในปัจจุบัน

ตัวอย่างบทความจากเกี่ยวกับคาร์บอนฟุตพรินต์

  • การวิเคราะห์วงจรชีวิต พร้อมรับมือเข้าสู่กรีนดีล
  • เจาะลึกวิธีการประเมิน Carbon Emission ในแต่ละ Scopes สำหรับเจ้าของธุรกิจ (ที่มา: GMS Solar) 
  • การวัดคาร์บอนฟุตพรินต์ (ที่มา: setsustainability.com)

https://setsustainability.com/libraries/1247/item/carbon-footprint-3

บทความอ้างอิง: https://www.etmm-online.com

บทความที่น่าสนใจ

About The Author