การผลิตแบบเติมวัสดุ

การผลิตแบบเติมวัสดุสามารถลดการปล่อยคาร์บอนและประหยัดทรัพยากรได้

กฎหมายภาษีคาร์บอนข้ามแดนของสหภาพยุโรปที่จะจัดเก็บผู้ที่ส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังสหภาพยุโรปที่มีคาร์บอนฟุตพรินต์เกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อาจมีผลทำให้ต้นทุนสินค้าที่ไปวางตลาดในสหภาพยุโรปของผู้ส่งออกสูงขึ้นและไม่อาจแข่งขันในตลาดยุโรปได้ 

การปล่อยคาร์บอนนั้นสามารถคิดคำนวณจากทุกองค์ประกอบในกระบวนการผลิต ทั้งจากกระบวนการผลิต วัตถุดิบ และแหล่งพลังงานที่ใช้ ดังนั้นเครื่องจักรและเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่จึงถูกคิดค้นเพื่อให้ตอบโจทย์ด้านความยั่งยืน โดยที่ผู้ผลิตพยายามเลือกใช้องค์ประกอบการผลิตและวัตถุดิบที่มีคาร์บอนฟุตพรินต์ต่ำ ใช้เครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพ การใช้พลังงานที่สูงขึ้น มีการปล่อยคาร์บอนที่น้อยลง ตลอดจนใช้พลังงานหมุนเวียน เรียกได้ว่าทุกองค์ประกอบในการผลิต คือ โอกาสในการลดการปล่อยคาร์บอน การลงทุนเครื่องจักรและเทคโนโลยีการผลิตใหม่ที่รองรับเรื่องความยั่งยืนจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อตอบโจทย์เหล่านี้ 

ตัวอย่างบทความจาก Toolmakers ที่เป็นกรณีศึกษาของการเลือกองค์ประกอบในการผลิตที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ 

  • เครื่องจักร – ประหยัดพลังงาน 

ARBURG เปิดตัว ALLROUNDER 470 H ทางเลือกประหยัดพลังงานและลดการปล่อยคาร์บอน

  • วัสดุ – ตัวเลือกของการใช้วัสดุที่มีคาร์บอนฟุตพรินต์เป็นลบ

PET/F สารชีวภาพที่ให้คาร์บอนฟุตพรินต์เป็นลบสำหรับการผลิตบรรจุภัณฑ์

HOT RUNNER เพื่อความยั่งยืน รองรับพลาสติกรีไซเคิลและชีวภาพ จาก OERLIKON HRS FLOW

  • พลังงาน – การเลือกใช้พลังงานจากแหล่งที่สะอาด

เทคโนโลยีแม่พิมพ์ : ระบบหัวฉีดที่ปฏิวัติวงการอุตสาหกรรม ประหยัดพลังงานได้มากถึง 50%

สำหรับด้านของกระบวนการผลิต การผลิตแบบเติมวัสดุสามารถช่วยลดการปล่อยคาร์บอนและประหยัดทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตได้ โดยการศึกษานี้ได้รับการสนับสนุนโดยบริษัทผู้ผลิตเครื่องพิมพ์ 3 มิติ เพื่อชูจุดขายด้านการลดการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิต

ในการศึกษาล่าสุดของ Stratasys โดยความร่วมมือระหว่าง Amgta (Additive Manufacturer Green Trade Association) และ Dyloan Bond Factory แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมของการผลิตแบบเติมวัสดุในอุตสาหกรรมแฟชั่น โดยรายงานได้เปรียบเทียบการฉีดพ่นวัสดุ 3 มิติกับวิธีการแบบเดิมในการผลิตสินค้าฟุ่มเฟือย แสดงให้เห็นการลดลงอย่างมากของการปล่อยคาร์บอน การใช้วัสดุ น้ำ และพลังงาน ทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทานอีกด้วย

A study revealed that a Stratasys Polyjet material jetting approach can cut CO2e emissions by 24.8 percent in comparison to injection moulding and save 48 percent of stock material across the supply chain.

การศึกษาแสดงให้เห็นว่าวิธีการพ่นวัสดุของ Stratasys Polyjet สามารถลดการปล่อยคาร์บอนลงได้ถึง 24.8 เปอร์เซ็นต์เมื่อเปรียบเทียบกับการฉีดขึ้นรูป อีกทั้งยังประหยัดสต็อกวัสดุลง 48 เปอร์เซ็นต์ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน

(ที่มา: Stratasys)

บริษัทการพิมพ์ 3 มิติ ‘Stratasys’ แชร์ผลของการศึกษาที่จัดทำขึ้นโดย Amgta (Additive Manufacturer Green Trade Association) ที่เน้นในเรื่องของประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมของการผลิตแบบเติมวัสดุสำหรับอุตสาหกรรมแฟชั่น เกี่ยวกับ ‘การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ: การฉีดพ่นวัสดุ 3 มิติ และ วิธีการแบบเดิมสำหรับสินค้าฟุ่มเฟือย’ ซึ่งเป็นผลจากความร่วมมือตลอดทั้งปีของ Amgta, Stratasys และ Dyloan Bond Factory ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ Pattern Group ศูนย์กลางด้านการผลิตและออกแบบแฟชั่นสุดหรูแห่งแรกของอิตาลี

Additive Manufacturing process of logo applique by steps

กระบวนการผลิตแบบเติมวัสดุสำหรับโลโก้ตัดแปะทีละขั้นตอน

(ที่มา: Stratasys)

แผนการจำลองการเปลี่ยนผ่านจากการผลิตแบบเดิมไปสู่การผลิตแบบเติมวัสดุขั้นสูงเพื่อสร้างโลโก้ตัดแปะ 16,000 ชิ้น สำหรับรองเท้าดีไซน์หรู 8,000 คู่ โดยการพิมพ์โลโก้บนผ้าที่ผลิตโดยเครื่องพิมพ์ ‘Stratasys J850 Fashion Techatyle’ ซึ่งการวิเคราะห์และผลการศึกษาจากการพิมพ์นี้แสดงให้เห็นว่า

  • AM หรือ การผลิตแบบเติมวัสดุ ลดการปล่อยก๊าซ CO2 ลง 24.8 เปอร์เซ็นต์เมื่อเปรียบเทียบกับกระบวนการแบบเดิม และประหยัด CO2 ได้เกือบ 1 ตัน ในการผลิตโลโก้ 16,000 ชิ้น สำหรับรองเท้า 8,000 คู่
  • ลดการใช้วัตถุดิบลง 49.9 เปอร์เซ็นต์ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ส่งผลให้ลดความจำเป็นในการขนส่งมากขึ้น
  • กระบวนการพิมพ์แบบเติมวัสดุลงบนผ้า ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำ จึงประหยัดน้ำได้มากกว่า 300,000 ลิตร
  • การผลิตแบบเติมวัสดุลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้มากกว่า 64 เปอร์เซ็นต์
  • ห่วงโซ่อุปทานมีความเรียบง่ายมากขึ้น ลดจำนวนเทคโนโลยีที่ต้องใช้ลงจาก 4 เหลือเพียง 1 และเพิ่มประสิทธิภาพขั้นตอนการผลิตและโลจิสติกส์ให้มีความเหมาะสมจาก 12 เหลือแค่ 2 ขั้นตอน

การวิจัยในการผลิตแบบเติมวัสดุนี้ดำเนินการโดย Reeves Insight และได้รับการตรวจสอบโดย Acam Aachen Center for Additive Manufacturing

บทความอ้างอิง: https://www.etmm-online.com/

บทความที่น่าสนใจ

About The Author