Green Deal

Green Deal

การวิเคราะห์วงจรชีวิต พร้อมรับมือเข้าสู่กรีนดีล

บริษัทของคุณมีคาร์บอนฟุตพรินต์มากแค่ไหน? อะไรคือข้อจำกัดในการปล่อยคาร์บอนระหว่างการผลิตผลิตภัณฑ์ของคุณ? เราจะก้าวไปสู่การสร้างโรงงานที่ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ได้อย่างไร? ก่อนที่จะถึงงาน EMO Hannover 2023 ในปีนี้ ผู้เชี่ยวชาญกำลังหารือเกี่ยวกับความสำคัญของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและวิธีการผลิตอุปกรณ์การผลิตสำหรับโรงงานทั่วโลก

It pays to coordinate the machine, technical infrastructure and building subsystems. ETA-Solutions estimates that networking, energy management and energy recovery can reduce energy requirements in a factory by roughly 40 percent.

ความคุ้มค่าที่ได้จากการประสานงานของเครื่องจักร โครงสร้างพื้นฐานทางเทคนิค และระบบย่อยในการผลิต ETA-Solutions ประเมินว่าระบบเครือข่าย การจัดการพลังงาน และการกู้พลังงานคืน สามารถลดความต้องการในการใช้พลังงานในโรงงานได้ถึง 40 เปอร์เซ็นต์

(ที่มา: Mafac)

ภาคส่วนวิศวกรรมถูกมองว่าเป็นส่วนช่วยในการลดก๊าซเรือนกระจกและประสบผลสำเร็จในการทำให้สภาพอากาศดีขึ้นมาก ในขณะเดียวกัน บริษัทด้านวิศวกรรมเองก็ได้รับการกระตุ้นให้เปลี่ยนไปสู่การผลิตที่ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ (Carbon Neutrality) โดยเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

เป้าหมาย คือ ในส่วนของยุโรปต้องมีการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2050 แม้ว่าตอนนี้จะไม่มีกฎข้อบังคับให้บริษัทต่าง ๆ ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ แต่ VDMA ที่บรัสเซลล์ รายงานว่า Green Deal ของสหภาพยุโรป (EU) ได้กำหนดกฎข้อบังคับต่าง ๆ สำหรับอุตสาหกรรม โดยประการแรก ข้อบังคับสำหรับบริษัทต่าง ๆ ที่จะต้องจัดการการผลิตด้วยวิธีการที่ประหยัดทรัพยากร ประการที่สอง ความจำเป็นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเร่งด่วน ด้วยเหตุนี้ EU จึงวางแผนที่จะเรียกเก็บภาษีคาร์บอนข้ามแดนในการนำเข้าจากประเทศที่ 3 และต้นทุนคาร์บอนเพิ่มขึ้นมากเนื่องจากการลดทอนสิทธิ์ในการปล่อยคาร์บอน โดยมีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นความต้องการเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม ทุกบริษัทจะต้องศึกษาวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพรินต์ของตนเอง และทุกผลิตภัณฑ์จะได้รับ Digital Product Passport (DPP) โดยเบื้องต้นจะมุ่งเน้นไปที่สินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ยีนส์ แบตเตอรี่ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ท้ายสุดนี้สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคาร์บอนฟุตพรินต์ก็จะรวมไปถึงเครื่องมือเครื่องจักรกลต่าง ๆ ด้วย

VDW (German Machine Tool Builders’ Association) ซึ่งเป็นผู้จัดงาน EMO Hannover 2023 กล่าวถึงคำถามที่ว่าบริษัทต่าง ๆ เริ่มต้นในการจัดทำคาร์บอนฟุตพรินต์อย่างไร และจะสนับสนุนกระบวนการนี้อย่างไร เมื่อไม่นานมานี้บริษัทสมาชิกได้รับการเชิญชวนให้เข้าร่วมเวิร์คชอปออนไลน์เพื่อระบุว่าข้อมูลและการสนับสนุนอะไรบ้างที่พวกเขาต้องการ จากการสำรวจในระยะเวลาสั้น ๆ ของผู้เข้าร่วมงาน พบว่าเกือบ 60 เปอร์เซ็นต์ที่ได้รับความต้องการที่แน่นอนจากลูกค้า ในขณะที่ธนาคาร ผู้มีอำนาจ และซัพพลายเชนก็ต้องการการวิเคราะห์วงจรชีวิตมากขึ้นด้วย

กรอบฟุตพรินต์จาก Greenhouse Gas Protocol

หลายบริษัทได้รับคำแนะนำเรื่องคาร์บอนฟุตพรินต์จาก Greenhouse Gas Protocol – GHGP ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับโดยแบ่งมาตรการลดการปล่อยก๊าซออกเป็น 3 ขอบเขต ได้แก่ 

ขอบเขตที่ 1 บริษัทที่ปล่อยคาร์บอนโดยตรงที่เกิดจากการสันดาปเชื้อเพลิงฟอสซิล ตัวอย่างเช่น การทำความร้อนในอาคารหรือยานพาหนะของบริษัทเอง 

ขอบเขตที่ 2 การปล่อยคาร์บอนจากทางอ้อม เช่น จากไฟฟ้า เครื่องทำความร้อน เครื่องทำความเย็น 

ขอบเขตที่ 3 การปล่อยคาร์บอนที่รวมการปล่อยทางอ้อมจากการสร้างคุณค่าทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ และจากวงจรชีวิตของสินค้าที่ผลิตอย่างเครื่องมือกล รวมถึงวัสดุและส่วนประกอบจากซัพพลายเออร์ และการปล่อยคาร์บอนที่เกิดจากปฏิบัติงานของผู้ใช้เครื่องมือเครื่องจักร ซึ่งจะได้รับการประเมินอายุการใช้งานของสินค้า ไปจนถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อสิ้นอายุการใช้งาน

แนวปฏิบัติที่ดีที่สุด 

Claudia Brasse, Group Director Sustainability & HSE (Health, Safety, Environment) บริษัท Wilo SE ผู้ผลิตปั๊มที่ใช้งานกันทั่วโลก สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองดอร์ทมุน ประเทศเยอรมนี ได้อธิบายถึงวิธีการวิเคราะห์วงจรชีวิตและการพัฒนากลยุทธ์ด้านความยั่งยืน โดยบริษัทมีพนักงานประมาณ 8,200 คนในสายการผลิตและฝ่ายขายมากกว่า 70 แห่งทั่วโลก โดยมีเป้าหมายในเรื่องกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนเป็นสิ่งสำคัญที่สุด “เราต้องช่วยจัดหาน้ำสะอาดให้กับผู้คนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ นั่นคือการลดฟุตพรินต์ให้กับระบบนิเวศของเรา” Claudia Brasse กล่าว

ในการกำหนดฟุตพรินต์ของสภาพอากาศ บริษัทเริ่มบันทึกการใช้พลังงานในสถานที่ผลิตหลัก 11 แห่ง (ขอบเขตที่ 1) คำนวณการปล่อยคาร์บอนพื้นฐาน (ขอบเขตที่ 1 และ 2) ขอบเขตที่ 3 ตัวประเมิน (Evaluator) คือ ซอฟต์แวร์ในการเก็บรวบรวมและการประเมินผลข้อมูล ช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูลและคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งซัพพลายเชน ผลลัพธ์ที่ได้จะถูกรวมเข้าไปในกลยุทธ์ความยั่งยืน โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ น้ำ พลังงาน วัสดุและของเสียจากการปล่อยคาร์บอน และพนักงานหรือคนงานรวมถึงภาคสังคม Wilo ได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ อย่างการเพิ่มผลงานในเรื่องระบบน้ำอัจฉริยะ การประหยัดพลังงานโดยการใช้ปั๊มที่มีประสิทธิภาพสูง เพิ่มจำนวนชิ้นส่วนที่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ และลดการใช้วัสดุในส่วนการใช้งานที่แตกต่างกัน ซึ่งเป้าหมายในปี 2025 คือ ลดการปล่อยคาร์บอนให้ได้ 50 ล้านตัน โรงงานของ Wilo ทั้งหมดต้องมีการผลิตที่ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ ลดการใช้วัตถุดิบลง 250 ตัน และต้องมีการรีไซเคิลให้ได้ 90 เปอร์เซ็นต์ ส่วนแบ่งของไฟฟ้าสีเขียว (ผลิตจากพลังงานหมุนเวียน) ที่ Wilo ใช้จะเพิ่มเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2025 โดยมีเป้าหมาย 20 เปอร์เซ็นต์จากการผลิตไฟฟ้าใช้เอง (In-House) ตามข้อมูลของ Brasse มาตรการต่าง ๆ จะถูกนำไปใช้ในยุโรปก่อน ตามด้วยไซต์งานต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียเพื่อที่จะชดเชยการปล่อยคาร์บอนที่ยังเหลืออยู่ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้แม้ว่าจะพยายามเต็มที่แล้ว เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ความยั่งยืนของบริษัท Wilo ยังสนับสนุนโครงการบ่อน้ำในประเทศมาลาวี ในทวีปแอฟริกาใต้ ซึ่งได้รับการรับรองตามมาตรฐาน Gold Standard อีกด้วย

การวิเคราะห์ขอบเขตที่ 1 และ 2 นั้นเป็นเรื่องง่ายมาก “เพียงแค่เริ่ม!” อย่างไรก็ดี มีความท้าทายมากในการระบุปล่อยคาร์บอนในขอบเขตที่ 3 และกำหนดเป้าหมายที่สามารถจัดการได้ Claudia Brasse กล่าว การรวมผลิตภัณฑ์ที่เป็นคาร์บอนฟุตพรินต์และการวิเคราะห์วงจรชีวิต (Life Cycle Analyses – LCA) เข้าไปในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นสิ่งที่จำเป็นและท้าทายมาก ต่างจากในอดีต ความสนใจถูกเน้นไปที่แต่ละโครงการและมีความเฉพาะเจาะจง ส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่มีแรงจูงใจทางวิทยาศาสตร์ LCA เป็นกระบวนการสำหรับการสำรวจและบันทึกผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของผลิตภัณฑ์ในอนาคต Wilo นำซอฟต์แวร์ Ecodesign Studio มาปฏิบัติเพื่อวัตถุประสงค์นี้

การสนับสนุนจากสถาบันทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ

บริษัทหลายแห่งขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอกเพื่อช่วยให้ไปถึงเป้าหมายที่ท้าทายในขอบเขตที่ 3 ตามที่ได้ชี้แจงไว้ในเวิร์คชอปของ VDW ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ได้ทำการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้พลังงานและทรัพยากร มีการระบุจุดอ่อนต่าง ๆ และเสนอมาตรการที่มีประสิทธิผล ตัวอย่างเช่น สถาบัน Berlin Fraunhofer Institute for Production Systems and Design Technology (IPK) มีส่วนร่วมในการวางแผน การจัดการเวิร์คชอปให้กับบริษัทต่าง ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ‘Klima Wirtschaft’ โดยได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงเศรษฐกิจและการปกป้องสภาพอากาศของเยอรมัน นอกจากนี้ IPK ยังให้การสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญบริษัทผู้ผลิตที่ก้าวสู่การจัดการสภาพอากาศแบบบูรณาการอีกด้วย

IPK ดำเนินการวิจัยและพัฒนาทั้งซัพพลายเชนของบริษัทผู้ผลิต Prof. Eckart Uhlmann ผู้อำนวยการสถาบันและเป็นสมาชิกของ German Academic Association for Production Technology (WGP) มองว่าการทำให้ผู้ผลิตสามารถลดการใช้พลังงานและทรัพยากรในทุกขั้นตอนการผลิตนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ตัวอย่างเช่น นักวิทยาศาสตร์ของ IPK ทำการวิจัยเรื่อง Digital Twins โดยมีเป้าหมายสูงสุดในการติดตามคาร์บอนฟุตพรินต์ของผลิตภัณฑ์ตลอดวงจรชีวิต และลดปริมาณลงได้ในระยะยาว หมายความว่ากระบวนการผลิตที่กล่าวมานั้นสามารถประหยัดพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ความร้อน การระบายอากาศ หรืออากาศที่เสียนั้นสามารถวางแผนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถควบคุมระบบและเครื่องจักรได้อย่างเหมาะสมที่สุด

โอกาสในการแข่งขันระดับนานาชาติ

Martin Beck กรรมการผู้จัดการของ ETA-Solutions ผู้ให้บริการด้านการวางแผนระบบพลังงานในเมือง Bensheim รัฐ Hesse รับผิดชอบในการวางแผนและการใช้งานระบบประหยัดพลังงาน ETA-Solutions เป็นบริษัทลูกที่แยกออกมาจาก Institute of Production Management, Technology and Machine Tools (PTW) ที่ TU Darmstadt ข้อเท็จจริงในการหารือหลาย ๆ ครั้งเกี่ยวกับการป้องกันสภาพอากาศมักมาพร้อมกับข้อกำหนดและความคาดหวังของลูกค้า “ต้องมีการคุยกันมากขึ้นเกี่ยวกับความได้เปรียบทางการแข่งขันและโมเดลธุรกิจใหม่” Beck กล่าวสนับสนุน

ETA-Solutions มีส่วนร่วมในการวางแผนเชิงแนวคิด ‘อนาคตของความยั่งยืนในพื้นที่การผลิต’ ที่งาน EMO Hannover 2023 อีกทั้ง Martin Beck เน้นย้ำถึงความเป็นระบบทั้งหมด ไม่ใช่แค่เครื่องจักรแต่ละเครื่องเท่านั้นที่เป็นตัวกำหนดการใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ของศักยภาพในการประหยัดพลังงานนั้นขึ้นอยู่กับลูกค้า Beck กล่าวถึงตัวอย่างต่าง ๆ เช่น การกู้ความร้อนที่สูญเสีย การกระจายศูนย์หล่อเย็นด้วยหน่วยทำความเย็นที่มีประสิทธิภาพ และการสร้างเครือข่ายความร้อน วิธีการเหล่านี้ผ่านการพิสูจน์แล้วว่าสามารถลดพลังงานที่ต้องใช้สำหรับการหล่อเย็นและทำความร้อนในโรงงาน รวมถึงลดต้นทุนได้ถึง 82 เปอร์เซ็นต์ และลดการปล่อยคาร์บอนมากถึง 72 เปอร์เซ็นต์ แสดงให้เห็นว่าการใช้พลังงานและการปล่อยคาร์บอนต้องถูกนำไปใช้อย่างเป็นระบบ

โมเดลธุรกิจที่ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์มีการนำเสนอระบบแบบครบวงจรซึ่งรวมถึงการออกแบบของโครงสร้างพื้นฐานตามความต้องการ ประกอบด้วยไฟฟ้า เครื่องทำความเย็น เครื่องทำความร้อน หรืออากาศ และการวางแผนระบบพลังงาน Beck เชื่อมั่นว่า “ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้พร้อมทั้งกลยุทธ์ทางการขายที่จริงจัง จะช่วยให้มีโอกาสที่ดีขึ้นในตลาดทั้งในแง่ของธุรกิจใหม่และธุรกิจเดิมที่มีอยู่”

บทความอ้างอิง: https://www.etmm-online.com/

บทความอื่น ๆ

About The Author