เครื่องพิมพ์ 3 มิติ มีหลายขนาด หลายระดับคุณภาพ และหลายราคา ควรเลือกซื้อให้เหมาะสมกับลักษณะ คุณภาพ และขนาดของชิ้นงานที่ต้องการพิมพ์ ขนาดของเครื่องพิมพ์ 3 มิติมีตั้งแต่ขนาดตั้งโต๊ะซึ่งไม่ใหญ่มากนักไปจนถึงมีขนาดใหญ่เท่าห้อง ๆ หนึ่ง แต่หากชิ้นงานที่ใหญ่มาก ๆ ก็ต้องใช้แพลตฟอร์มเครื่องพิมพ์ที่มีขนาดใหญ่ จำนวนเลเซอร์มาก เนื่องจากเส้นทางการยิงเลเซอร์เป็นไปตามการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หัวเลเซอร์หลาย ๆ หัวจึงสามารถปฏิบัติงานบนงานชิ้นเดียวกันในเวลาเดียวกันได้ ช่วยให้การพิมพ์เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
Eplus 3D บริษัทด้านการพิมพ์ 3 มิติ เปิดตัว ‘EP-M1550’ แพลตฟอร์มการพิมพ์ขนาดใหญ่รุ่นใหม่ มีถึง 16 เลเซอร์ และบริษัทเคลมว่าเป็นแพลตฟอร์มการพิมพ์ที่ขนาดใหญ่ที่สุดสำหรับเทคโนโลยีการหลอมผงโลหะ (Metal Powder Bed Fusion หรือ MPBF) ช่วยให้การผลิตชิ้นส่วนขนาดใหญ่ประหยัดและคุ้มค่ายิ่งขึ้น
EP-M1550 มีองค์ประกอบเลเซอร์ 16 ตัว จัดวางแบบเมทริกซ์ 4 x 4 พร้อม Galvanometers (เครื่องมือวัดกระแสไฟฟ้า) 16 ตัว
(ที่มา: Eplus 3D)
เครื่อง EP-M1550 เป็นระบบ MPBF (Metal Powder Bed Fusion หรือ การหลอมผงโลหะ) เครื่องแรกของโลกที่มีตัวเลือกของเลเซอร์ 16 ถึง 25 ตัว โดยเลเซอร์ 16 ตัว ถูกจัดวางแบบเมทริกซ์ 4 x 4 พร้อมด้วย Galvanometers (เครื่องมือวัดกระแสไฟฟ้า) 16 ตัว การจัดวางองค์ประกอบแบบนี้ทำให้เลเซอร์ 16 ตัวสามารถทำงานพร้อมกันได้ ส่งผลให้อัตราการพิมพ์สูงถึง 650 ลบ.ซม./ชม. ทั้งนี้ยังขยายจำนวนเลเซอร์และ Galvanometers เพิ่มเป็นอย่างละ 25 ตัวแล้วจัดวางแบบเมทริกซ์ 5 x 5 ได้อีกด้วย
EP-M1550 ออกแบบมาเพื่อการผลิตขนาดใหญ่ โดยสามารถพิมพ์ขนาด 1558 x 1558 x 1200 มม. และสูงสุดได้ถึง 2,000 มม. ทำให้พิมพ์ได้ถึง 2,670 ลิตร เครื่อง EP-M1550 สามารถติดตั้งเลเซอร์ขนาด 500 หรือ 700 วัตต์ได้ และทำงานร่วมกันกับวัสดุได้หลากหลายประเภท รวมถึงโลหะผสมไทเทเนียม อลูมิเนียมอัลลอย และเหล็กชนิดต่าง ๆ โดยมีความหนาของชั้น (Layer) ตั้งแต่ 20 – 120 ไมครอน
Eplus 3D มีเป้าหมายที่จะให้เครื่อง EP-M1550 รองรับอุตสาหกรรมการพิมพ์ 3 มิติสำหรับชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่ ระบบออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ผลิตสามารถแข่งขันในตลาดได้มากขึ้น และสามารถพิมพ์โลหะ 3 มิติที่มีขนาดใหญ่ในเชิงพาณิชย์ได้
Mary Li, General Manager of the International Division ของ Eplus 3D กล่าวว่า บริษัทชี้แจงรายละเอียดทางเทคนิคเกี่ยวกับเครื่อง LPBF (Laser-Based Powder Bed Fusion หรือ กระบวนการหลอมผงวัสดุทีละชั้นด้วยแสงเลเซอร์) ด้วยโลหะขนาดใหญ่ และส่งมอบไปแล้วเกือบ 20 เครื่อง ขนาด 1250 x 1250 x 1000 มม. หรือใหญ่กว่านั้น เพื่อให้ลูกค้าผลิตและวางแผนการจัดหาระบบการผลิตแบบเติมวัสดุที่น่าเชื่อถือได้อย่างต่อเนื่อง สำหรับเครื่อง EP-M1550 นี้จะจัดแสดงในงาน Formnext 2023 วันที่ 7 – 10 พฤศจิกายน 2023 ที่ประเทศเยอรมนีด้วยเช่นกัน
คลิปวิดีโอ การทำงานของเครื่อง EP-M1550
บทความอ้างอิง: https://www.etmm-online.com/
บทความที่น่าสนใจ
- ปรับพื้นผิวส่วนประกอบงานพิมพ์ 3 มิติให้เรียบและเป็นเนื้อเดียวกันโดยอัตโนมัติ
- 5 นวัตกรรมจากผู้ชนะการแข่งขันสตาร์ทอัพนานาชาติของ Formnext ครั้งที่ 9
- ‘Trutops Print’ ซอฟต์แวร์การพิมพ์ 3 มิติที่ไม่มีโครงสร้างรองรับ ลดต้นทุนวัสดุสิ้นเปลือง
- Hot Runner เพื่อความยั่งยืน รองรับพลาสติกรีไซเคิลและชีวภาพ จาก Oerlikon HRS Flow
About The Author
You may also like
-
NECTEC-ACE 2024 : The next era of Thai intelligent sensors เปิดโลกเทคโนโลยียุคใหม่ด้วยเซนเซอร์ไทยอัจฉริยะ
-
SuperSource : VEGAPULS 6X เซนเซอร์วัดระดับแบบต่อเนื่องด้วยเทคโนโลยีเรดาห์แบบพรีเมียม
-
แถลงจัดงาน THECA 2024 ผลักดันประเทศไทยสู่ฐานผลิต PCB ระดับโลก
-
อินฟอร์มาฯ – ก.พลังงาน ร่วมภาคีเครือข่ายด้านพลังงาน พร้อมจัดงาน ASEAN Sustainable Energy Week 2024
-
อินเตอร์แมค – ซับคอนไทยแลนด์ 2024 เปิดแล้ว ใหญ่จริง จัดเต็ม เทคโนโลยี นวัตกรรม สัมมนาเปิดทางรอดอุตสาหกรรมไทย