อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพร่วมหารือลดการปล่อยคาร์บอน มุ่งสู่ความยั่งยืน

ในยุโรปมีการผลักดันความยั่งยืนผ่าน European Green Deal โดยหนึ่งในความพยายามที่จะลดการปล่อยคาร์บอนนั้น คือ การใช้ไบโอพลาสติกและพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ จึงมีการจัดการประชุมเพื่อสร้างการตระหนักรู้ (Awareness) และสร้างความเข้าใจให้แต่ละบริษัทในอุตสาหกรรมดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงนำเอาแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดของบริษัทมานำเสนอเป็นแบบอย่างให้บริษัทอื่น ๆ นำไปปรับใช้ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีสร้างความยั่งยืนร่วมกัน เพราะสิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยความร่วมมือกันทั้งอุตสาหกรรม

The European Bioplastics (EUBP) Conference จะมีขึ้นในวันที่ 6-7 ธันวาคม 2565 ณ กรุงเบอร์ลิน ปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 17 เพื่อเจรจาธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมไบโอพลาสติก สามารถเข้าร่วมการประชุมทางออนไลน์ได้ ซึ่งงานนี้จะจัดในรูปแบบไฮบริด (ทั้งออนไลน์และออฟไลน์)

พลาสติกชีวภาพ (Bioplastics) คือ พลาสติกที่ผลิตจากวัตถุดิบทางการเกษตรหรือจากธรรมชาติ (Biobase) สามารถปลูกหมุนเวียนและทดแทนกันได้โดยใช้ระยะเวลาอันสั้น (Renewable Resource) เช่น ข้าวโพด อ้อย มันสําปะหลัง โดยมีคุณสมบัติสามารถย่อยสลายตัวได้และย่อยสลายตัวไม่ได้ทางชีวภาพ เครดิต: bio.eco.co.th)

Bio plastics
บทบาทของพลาสติกเชิงชีวภาพในการจัดการการพึ่งพาคาร์บอนจากฟอสซิลและการลดการปลดปล่อย CO2 กำลังเป็นที่เข้าใจกันดีในหมู่รัฐสมาชิกสหภาพยุโรป (ที่มา: โดเมนสาธารณะ / Pixabay)

ภาพใหญ่ของ European Green Deal และกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องค่อนข้างมีความชัดเจน คือ การลดการพึ่งพาทรัพยากรฟอสซิล และการปลดปล่อย CO2 จนมีความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเท่ากับศูนย์ ภายในปี 2050 เพื่อที่จะไปถึงเป้าหมายนี้ ยุโรปจำเป็นที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้เป็นเศรษฐกิจหมุนเวียน ใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดซึ่งรวมถึงของเสียด้วย 

บทบาทของพลาสติกเชิงชีวภาพในการจัดการการพึ่งพาคาร์บอนจากฟอสซิลและการลดการปลดปล่อย CO2 กำลังเป็นที่เข้าใจกันดีในหมู่รัฐสมาชิกสหภาพยุโรป เช่นเดียวกับความสำคัญของพลาสติกที่ย่อยสลายได้ที่นำขยะอินทรีย์กลับมาใช้ใหม่ 

การประชุมในปีนี้จะเริ่มด้วยการขึ้นบรรยายเปิดประเด็นโดย Christian Holzleitner หัวหน้าหน่วยงานที่รับผิดชอบเศรษฐกิจภาคพื้นดินและการขจัดคาร์บอน อธิบดีด้านการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยจะมาไฮไลต์ถึงความสำคัญของวัฎจักรคาร์บอนที่ยั่งยืน มุ่งเน้นที่บทบาทของพลาสติกชีวภาพเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังมี Silvia Forni อธิบดีสิ่งแวดล้อม คณะกรรมาธิการยุโรป และ Jorge Cristobal Garcia ศูนย์วิจัยร่วม (Joint Research Centre-JRC) คณะกรรมาธิการยุโรป 

ผู้เข้าร่วมงานนี้จะมีโอกาสได้เข้าร่วมการประชุมที่ครอบคลุมถึงแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการจัดเก็บขยะอาหาร มุมมองระดับโลกในเรื่องมาตรฐาน และประโยชน์ของพลาสติกชีวภาพที่ย่อยสลายได้เมื่อสิ้นอายุการใช้งาน การอภิปรายในปีนี้จะมีการหารือถึงบทบาทของพลาสติกที่ย่อยสลายได้ในเศรษฐกิจหมุนเวียน และยังมีการมุ่งเน้นที่แอปพลิเคชันที่เป็นนวัตกรรมสู่ความยั่งยืน ความก้าวหน้าของบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ และการพัฒนาใหม่ ๆ ของสารตั้งต้นสำหรับพลาสติกชีวภาพ และจะมีการตีพิมพ์ Bioplastic Market Data 2022 ฉบับใหม่ ซึ่งเป็นการอัปเดตว่าอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพดำเนินการเป็นอย่างไรบ้างในปีนี้ และคาดหวังการพัฒนาอะไรต่อไป? 

ผู้จัดงานได้เชิญตัวแทนจากบริษัทต่าง ๆ อันได้แก่ Patrick Zimmermann จาก FkuR, Hugo Vuurens จาก CJ Biomaterials, Patrick van Waes จาก Covation Biomaterials และ Leah Ford จาก NatureWorks มาร่วมบรรยายเกี่ยวกับทิศทางใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพในครั้งนี้ด้วย

ในฐานะที่สหภาพยุโรปเป็นตลาดส่งออกของไทย ทิศทางความยั่งยืนเป็นสิ่งหนึ่งที่เราต้องคอยติดตามถึงแนวปฏิบัติและกฎเกณฑ์เกี่ยวกับความยั่งยืนและข้อกำหนดใหม่ ๆ ที่เปลี่ยนไป รวมถึงภาษีการปลดปล่อยคาร์บอน บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งประเทศที่ไม่ผ่านเกณฑ์ อาจไม่สามารถนำสินค้าไปวางขายในตลาดปลายทางได้ หรืออาจต้องจ่ายภาษีค่าปรับ ซึ่งเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อไทยและอาจเป็นข้อกีดกันทางการค้าได้ เป็นสิ่งที่เราต้องเฝ้าติดตาม ปรับตัวให้ทันเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน โดยผู้ส่งออกสามารถเล็งเห็นกฎระเบียบที่กำลังจะมีขึ้นและปรับตัวล่วงหน้าได้

อ้างอิง : https://www.etmm-online.com/

บทความอื่นๆ :

About The Author