พลาสติกชีวภาพ

คณะกรรมาธิการยุโรปเสนอกฎบังคับให้แคปซูลกาแฟต้องใช้พลาสติกชีวภาพที่สามารถย่อยสลายได้

สำหรับผู้ประกอบการไทยที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป การติดตามกฎเกณฑ์ที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดจากทางยุโรปเป็นสิ่งสำคัญ นอกเหนือจากเรื่องคาร์บอนฟุตพรินต์ ภาษีคาร์บอนข้ามแดน แล้วยังมีข้อกำหนดเรื่องบรรจุภัณฑ์ที่ทยอยบังคับใช้และส่งผลกระทบอย่างมากต่อกระบวนการผลิตด้วย 

บทความเกี่ยวกับคำสั่งของ EU บังคับให้ขวดน้ำพลาสติกต้องมีฝาที่ยึดติดกับขวดภายในปี 2024

นอกจากขวดน้ำพลาสติกที่ต้องมีฝาที่ยึดกับขวดแล้ว คณะกรรมาธิการยุโรปกำลังเสนอให้กาแฟแบบเสิร์ฟครั้งเดียวต้องย่อยสลายได้ และเรียกร้องให้รัฐสภาและคณะมนตรียุโรปสนับสนุนข้อเสนอเฉพาะนี้ โดยใช้ไบโอพลาสติกเป็นวัสดุทางเลือกในการผลิต

คุณผู้อ่านคงเคยดื่มกาแฟแคปซูลที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ตัวพลาสติกเองนั้นรีไซเคิลยากเพราะไม่ใช่พลาสติกล้วน ๆ แต่มีผงกากกาแฟข้างในด้วยจึงไม่สามารถนำมารีไซเคิลได้ กลายเป็นมลภาวะปนเปื้อนไปในสิ่งแวดล้อม ในขณะที่กากกาแฟสามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยได้ จึงจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแคปซูลกาแฟให้เป็นไบโอพลาสติกเพื่อให้แคปซูลที่ใช้แล้วสามารถย่อยสลายได้

คณะกรรมาธิการยุโรปที่กำลังหาหนทางในการช่วยสิ่งแวดล้อมจึงจะออกกฎบังคับให้กาแฟแคปซูลที่วางขายในสหภาพยุโรปต้องใช้พลาสติกชีวภาพที่สามารถย่อยสลายได้ เพื่อลดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ 

หากกาแฟแบบใช้ครั้งเดียวในตลาดสามารถย่อยสลายได้ในโรงย่อยสลายอุตสาหกรรม ตามมาตรฐานบรรจุภัณฑ์ EN 13432 ผู้บริโภคจะไม่สับสนเลยว่าควรทิ้งแคปซูลหลังใช้แล้วที่ไหน จากคำกล่าวของ European Bioplastics (ที่มา: ลิขสิทธิ์ฟรี / Pixabay)

มาตรฐานยุโรป EN 13432 

หลักเกณฑ์การย่อยสลายได้ของบรรจุภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมได้กำหนดในมาตรฐานยุโรป EN 13432 ซึ่งกำหนดว่าพลาสติกที่ย่อยสลายได้ต้องแตกสลายหลังจาก 12 สัปดาห์ และย่อยสลายได้ทางชีวภาพโดยสมบูรณ์หลังจาก 6 เดือน นั่นหมายถึงวัสดุพลาสติก 90 เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่าจะต้องถูกเปลี่ยนไปเป็น CO2 ส่วนที่เหลือจะเปลี่ยนไปเป็นน้ำและชีวมวล เช่น ปุ๋ยหมักที่มีค่า วัสดุและผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องตามมาตรฐานนี้จะได้รับการรับรองและติดฉลาก

กาแฟมีส่วนประกอบประมาณร้อยละ  80 ของแคปซูลกาแฟตามน้ำหนัก การรีไซเคิลแบบออแกนิกทำให้ยังคงคุณค่าของกากกาแฟไว้ได้มาก ตัวอย่างเช่น ปุ๋ยหมักผสมกากกาแฟมีประโยชน์หลายอย่างในการปรับปรุงสภาพดิน อย่างเช่นการปรับปรุงอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน แคปซูลที่ผลิตจากพลาสติกแบบเดิมทำให้วัสดุอินทรีย์ที่มีค่าหายไป การประเมินผลกระทบจากคณะกรรมาธิการยุโรปจึงสรุปว่าแคปซูลกาแฟที่ย่อยสลายได้เป็นทางเลือกที่ต้องการมากกว่า จากมุมมองของการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment: LCA)

สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพยุโรป หรือ European Bioplastics (EUBP) สนับสนุนความตั้งใจของคณะกรรมาธิการยุโรปในการทำให้แคปซูลกาแฟสามารถย่อยสลายได้ “เสียดายที่ในปัจจุบันมีการใช้งานวัสดุที่ย่อยสลายได้ในปริมาณที่จำกัด แต่เราก็สนับสนุนอย่างเต็มที่ในการที่คณะกรรมาธิการยุโรปนำแคปซูลกาแฟเข้าไว้ในรายการสินค้าที่จะได้รับอนุญาตให้วางขายในตลาดยุโรปก็ต่อเมื่อได้รับการรับรองว่าย่อยสลายได้เท่านั้น Hasso von Pogrell กรรมการผู้จัดการของ EUBP กล่าว   

หากการใช้ผลิตภัณฑ์แบบใช้แล้วทิ้งในตลาดสามารถย่อยสลายได้ในโรงย่อยสลายอุตสาหกรรม ตามมาตรฐานบรรจุภัณฑ์ EN 13432 ผู้บริโภคจะไม่สับสนว่าควรทิ้งแคปซูลหลังใช้แล้วที่ไหน ในขณะเดียวกันผู้ปฏิบัติการรีไซเคิลออแกนิกจะมีความรู้สึกอุ่นใจว่าผลิตภัณฑ์แบบใช้แล้วทิ้งที่เข้ามายังโรงงานนั้นปลอดภัย เพราะว่าสามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้เหมือนกับวัสดุที่ป้อนเข้ามาและไม่ทิ้งไมโครพลาสติกที่ตกค้างยาวนานเอาไว้

ทั้งนี้ สหภาพยุโรปจะมีการบังคับเก็บแยกขยะชีวภาพในต้นปี 2024 ซึ่งแคปซูลกาแฟที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งสามารถย่อยสลายได้ทั้งหมดอยู่ในส่วนขยะชีวภาพ จึงไม่จำเป็นต้องมีโครงสร้างพื้นฐานเพื่อแยกกากกาแฟที่เป็นสารอินทรีย์ออกจากพลาสติกแบบเดิม

บทความอ้างอิง: https://www.etmm-online.com/

บทความที่น่าสนใจ

About The Author