อุตสาหกรรม 4.0: จาก ‘วาระแห่งชาติ’ กลายเป็นเทรนด์สำคัญระดับโลก!

“หลังจากยุคเครื่องจักร- machanisation (อุตสาหกรรม 1.0), การผลิตจำนวนมาก- mass production (อุตสาหกรรม 2.0) และระบบอัตโนมัติ- automation (อุตสาหกรรม 3.0) การเกิดขึ้นของ Internet of Things และบริการในภาคการผลิตกำลังนำไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ หรือ อุตสาหกรรม 4.0 / Industry 4.0 ทำให้การผลิตเป็นปัจเจกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

สมาพันธ์วิศวกรรมเยอรมัน (Verband Deutscher Maschinen- und Anlagebau e.V. – VDMA / German Engineering Federation) ให้คำจำกัดความของอุตสาหกรรม 4.0 ไว้อย่างนั้น

แต่อะไรคือกุญแจสู่ความเป็นไปได้ในความเป็น 4.0 ที่แท้จริง อาจไม่มีคำตอบแบบสูตรสำเร็จ หรือ รูปแบบสำเร็จรูป แต่การกล่าวถึงนิยามหรือความเป็นไปได้ของ 4.0 โดยผู้ที่มีส่วนทำให้มันอุบัติขึ้นมาก็เป็นสิ่งที่เราควรรับฟังแต่โดยดี

Digitisation as the basis for success: กุญแจสู่ความสำเร็จในการผลิตแห่งอนาคต

แนวคิดของ digitization มีบทบาทพิเศษสุดในบริบทของอุตสาหกรรม 4.0 อย่างไรก็ตาม ข้อมูลดิจิทัล หรือ digital data ก็เป็นกุญแจสู่ความสำเร็จในการผลิตแห่งอนาคต digital data ที่ว่าด้านหนึ่งประยุกต์มาจากข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากลูกค้าและอีกด้านมาจากผลิตภัณฑ์ แต่เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ data ภายในวงจรการผลิต ในอนาคตข้อมูลจะกลายเป็น “the case” ในโรงงานผลิตหลายแห่ง ตัวอย่างเช่น ส่วนประกอบแต่ละรายการจะบรรจุทั้ง data และ information อยู่ภายใน ด้วยวิธีนี้ผลิตภัณฑ์จะสามารถ “สื่อสาร” กับเครื่องจักรสำหรับการผลิต หรือ manufacturing machine ภายในกรอบของสายการผลิตและแจ้งแผนงานสำหรับการผลิตชิ้นงานแต่ละรายการได้

ด้วยเหตุนี้ digitization จึงมีบทบาทสำคัญ ตัวอย่างเช่น ในสายการผลิตงานออกแบบก็จะสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะได้หลากหลายแบบอย่างพร้อมเพรียงกันในการดำเนินงานครั้งเดียว ด้วยเหตุนี้ digitization จึงช่วยให้ (โรงงาน) สามารถควบคุมกระบวนการผลิตได้อย่างถูกต้องแม่นยำใน Industry 4.0 รวมถึงกระบวนการผลิตที่ลีนและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

automation

The Industry 4.0 Platform: What is it?

อีกหนึ่งคำยอดฮิตที่ถูกนำมาใช้บ่อย ๆ ในบริบทนี้ก็คือ แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม 4.0 หรือ Industry 4.0 platform ซึ่งเป็นความคิดริเริ่มร่วมกันของ ZVEI, VDMA และ Bitkom และได้ ‘เกิด’ อย่างรวดเร็ว ถึงเวลาแล้วที่เครือข่ายในอุตสาหกรรมจะตรวจสอบความเป็นไปได้และโอกาสในปัจจุบันของ Industry 4.0 และเริ่มปฏิบัติการตามแนวคิดนี้

เหนืออื่นใดก็คือการแปลงเปลี่ยนไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 ผ่านความร่วมมือระดับชาติและระดับนานาชาติ โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการเติบโตของเยอรมนีในฐานะผู้นำระดับโลกด้านอุตสาหกรรมการผลิตและการขยายสาขาของบริษัทเยอรมัน รวมถึงเพื่อใช้งานเทคโนโลยีที่จำเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งไปกว่านั้นแพลตฟอร์มยังทำหน้าที่ในฐานะผู้ริเริ่มหรือผู้ดำเนินรายการและพยายามที่จะประสานบริษัทที่แตกต่างกันและความสนใจแตกต่างกันใน Industry 4.0 เข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์ม Industry 4.0 พัฒนาแนวคิดพื้นฐานและวางแผนใน working groups เพื่อกำหนดรูปแบบการใช้งาน Industry 4.0 ในอนาคต นอกจากนี้ยังสามารถให้ข้อเสนอแนะที่เป็นรูปธรรมสำหรับการลงมือปฏิบัติให้กับบริษัทต่าง ๆ ผ่านวิทยาศาสตร์และการเมือง ผ่านการศึกษาและการสัมมนาซึ่งครอบคลุมทั้งเรื่องของความเสี่ยงและโอกาสของอุตสาหกรรม 4.0 รวมทั้งการแปลงเป็นดิจิทัลและการวางเครือข่ายที่เกี่ยวข้องด้วย

ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งสำหรับแพลตฟอร์ม Industry 4.0 คือ การสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมและโดยตรงจากผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมในการรับมือกับ Industry 4.0 ได้อย่างแท้จริง เช่น ความตกลงร่วมกันในเครือข่ายสำหรับการใช้งานข้อมูลหรือถ่ายโอนข้อมูลที่จำเป็นในด้านต่างๆ

ดังนั้น หัวข้อสำคัญอีกประการหนึ่งสำหรับแพลตฟอร์ม Industry 4.0 ก็คือการส่งเสริมความร่วมมือทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคีอย่างชัดเจนในขอบเขตของความปลอดภัยด้าน IT และการวางมาตรฐานเครือข่าย รวมถึงการแปลงไปสู่ระบบดิจิทัล (digitization) อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับอุตสาหกรรม 4.0 ได้อย่างเหมาะสม-คู่ควร ซึ่งแพลตฟอร์ม Industry 4.0 ได้รับความสำเร็จอย่างมากในขอบเขตดังกล่าว

Industry 4.0

Industry 4.0 describes the smart networking of machines and machine-operated processes in industry. ( Source: ©24Novembers-AdobeStock.com )

What role does the Industry 4.0 platform play?

ในตอนแรกแพลตฟอร์ม Industry 4.0 โดยหลักใหญ่ใจความนำเสนอตัวเองเป็นเพียง ‘โซลูชันระดับชาติ’ ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อให้เยอรมนีเป็นที่ตั้งของธุรกิจ หรือ business location สำหรับอุตสาหกรรม 4.0 แต่ในช่วงเวลาที่มันเกิดขึ้นและจากความต้องการที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นในเรื่อง digitization, networking และ big data แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม 4.0 จึงกลายเป็นวาระที่กว้างใหญ่ขึ้นและขยายเครือข่ายออกไปมากขึ้น

Industry 4.0 เป็นคำที่คิดค้นขึ้นโดยภาคเอกชนของเยอรมนี ได้รับการกล่าวถึงครั้งแรกในงาน Hannover Messe ปี 2554 และภายหลังรัฐบาลเยอรมนีได้นำไปบรรจุในยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรม ‘HighTech Strategy 2020’ เพื่อสนับสนุนให้เยอรมนียังรักษาความเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมของโลกบนพื้นฐานของนวัตกรรมได้


อ้างอิง:

https://www.etmm-online.com/industry-40-clearly-explained-definition-benefits-and-topics-a-835529/

http://www.thaibizgermany.com

About The Author