ความเป็นกลางทางคาร์บอนเป็นเป้าหมายที่บรรดาผู้ประกอบการต้องไปให้ถึงเพื่อปกป้องสภาพอากาศ จะเห็นได้ว่าบริษัทชั้นนำต่าง ๆ เริ่มประกาศตนเองอย่างจริงจังเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนจากกระบวนการผลิตต่าง ๆ ในเวลาเดียวกันก็เป็นการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของบริษัทไปในตัว เมื่อเร็ว ๆ นี้ก็มีข่าวบริษัทแบรนด์สินค้าอุปโภคบริโภคที่ประกาศการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์รีไซเคิล
ซันไลต์ ประเดิมใช้บรรจุภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิล 100%
ไบเออร์สด๊อรฟ ตั้งเป้าเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์เพื่อการรักษ์โลก
การวัดคาร์บอนฟุตพรินต์ของวัตถุดิบในโรงงาน จำเป็นต้องหาที่มาได้ สิ่งนี้จะเป็นหลักเกณฑ์ใหม่ในการเลือกปัจจัยการผลิตทุกอย่างของโรงงาน ตั้งแต่วัสดุ กระบวนการ แหล่งที่มาของพลังงาน เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน หากสามารถเลือกได้ โรงงานต่าง ๆ มีแนวโน้มที่จะต้องปรับมาใช้กระบวนการที่ปลดปล่อยคาร์บอนต่ำมากขึ้น ใช้พลังงานหมุนเวียนทั้งหมดหรือมากยิ่งขึ้น เลือกซื้อวัสดุที่มาจากกระบวนการที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ การรีไซเคิลวัสดุในกระบวนการไม่ให้กลายเป็นขยะสิ่งแวดล้อมเร็วเกินไปนัก เพื่อบรรลุเป้าหมายการปลดปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ เพราะคาร์บอนฟุตพรินต์นั้นจะกลายเป็นต้นทุน เป็นการกีดกันทางการค้าในประเทศปลายทางที่ผู้ผลิตส่งสินค้าไปขายได้ หากคาร์บอนฟุตพรินต์ไม่ผ่านเกณฑ์จะเสียค่าปรับและอาจทำให้สินค้านั้นไม่สามารถแข่งขันได้ในตลาดปลายทาง การที่บริษัทผู้ผลิตวัสดุจะมาประกาศตนเองว่าใช้กระบวนการที่ปล่อยคาร์บอนต่ำไม่สามารถกล่าวได้โดยไม่มีการทำการศึกษาวิจัยที่ถูกต้อง ผ่านสถาบันวิจัยบุคคลที่ 3 ซึ่งเป็นที่ยอมรับ ในบทความนี้จะกล่าวถึงบริษัท 6K Additive ที่จัดหาวัสดุสำหรับการพิมพ์ 3 มิติ โดยศึกษากระบวนการของตนเองเทียบกับกระบวนการดั้งเดิม เพื่อรับรองในความได้เปรียบของการปล่อยคาร์บอนที่น้อยกว่ามาก ผลที่ได้สามารถนำมาใช้ในเชิงการตลาดได้ด้วยว่าผลิตภัณฑ์หรือวัสดุมีคาร์บอนฟุตพรินต์ต่ำและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
6K Additive และ Fraunhofer Institute for Laser Technology ILT ประกาศความร่วมมือที่จะสร้างการประเมินวงจรชีวิตที่สมบูรณ์ (Life Cycle Assessment – LCA) สำหรับการผลิตแบบเติมวัสดุ การศึกษาดำเนินการในห้องปฏิบัติการของ Fraunhofer ILT ทำการวิเคราะห์ผลกระทบเชิงสิ่งแวดล้อมจากผงวัสดุ การพิมพ์ และการปรับแต่งรายละเอียดหลังการพิมพ์ของส่วนประกอบอุตสาหกรรมที่ผลิตด้วยวิธีเติมวัสดุ
6K Additive และ Fraunhofer Institute for Laser Technology ILT ประกาศความร่วมมือที่จะสร้างการประเมินวงจรชีวิตที่สมบูรณ์ (Life cycle assessment – LCA) สำหรับการผลิตแบบเติมวัสดุ
(ที่มา: Volker Lannert)
การศึกษาเพื่อให้เข้าใจคาร์บอนฟุตพรินต์มากขึ้นจากวัสดุผ่านกระบวนการผลิตแบบเติมวัสดุและการปรับแต่งรายละเอียดหลังการพิมพ์ ทำในห้องปฏิบัติการของ Fraunhofer ILT โดยใช้ผง Ni718 ที่ผลิตอย่างยั่งยืนโดย 6K Additive สำหรับผลิตส่วนประกอบอุตสาหกรรมบนเครื่อง Laser Powder Bed Fusion
“สำหรับการพิมพ์ชิ้นส่วนโลหะโดยใช้ LPBF มีมุมมองที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของการผลิตแบบเติมวัสดุเทียบกับการผลิตแบบดั้งเดิม เป้าหมายของการศึกษานี้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล ข้อเท็จจริง เพื่อช่วยให้เข้าใจผลกระทบที่แท้จริงต่อสิ่งแวดล้อม” Dr Jasmin Saewe หัวหน้าแผนก Laser Powder Bed Fusion ที่ Fraunhofer ILT กล่าว
“เรายังคิดว่ามีความสำคัญอย่างมากที่จะประเมินทั้งกระบวนการ รวมถึงการผลิตผง สิ่งนี้คือเหตุผลที่เป็นพันธมิตรกับ 6K Additive ซึ่งมีวิธีผลิตผงที่ยั่งยืนและได้รับการพิสูจน์แล้ว”
บทความอ้างอิง: https://www.etmm-online.com/
บทความอื่น ๆ
- การผลิตแบบเติมวัสดุเป็นมากกว่าเครื่องพิมพ์ 3 มิติ
- Siemens จัดแสดงแอปพลิเคชันแบบยั่งยืน เพื่อการผลิตแบบเติมวัสดุสีเขียว
- 5 นวัตกรรมการผลิตแบบเติมวัสดุ ชนะรางวัล Formnext Start-up Challenge 2022
- การผลิตแบบเติมวัสดุ (AM) คืออะไร?
About The Author
You may also like
-
‘Vapor Smoothing’ เทคนิคการทำหลังกระบวนการที่ทำให้ TPU กันน้ำและยืดหยุ่นเป็นพิเศษ
-
Trumpf ร่วมมือกับสตาร์ทอัพด้านอวกาศ เพื่อภารกิจอวกาศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
-
Quickparts แนะนำทางเลือกที่ยืดหยุ่นในการรอสินค้า สำหรับการพิมพ์ 3 มิติ
-
Stratasys เพิ่ม 6 วัสดุการพิมพ์ 3 มิติใหม่เพื่อตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลาย
-
Stratasys และ Encee GmbH ร่วมกันขยายโซลูชันการพิมพ์ 3 มิติสู่ภาคส่วนการแพทย์