การพิมพ์ 3 มิติ มีข้อดีในเรื่องของความยืดหยุ่น ทั้งอิสระในการออกแบบ การเลือกวัสดุ การผลิตโดยไม่มีขั้นต่ำ อีกทั้งยังประหยัดวัสดุไม่เหลือเศษมากเหมือนกระบวนการผลิตแบบเดิม และผงโลหะที่ยังไม่ได้พิมพ์ก็นำกลับมาใช้ใหม่ได้ ตลอดจนผลิตชิ้นงานที่มีความแข็งแรงและน้ำหนักเบาได้ ซึ่งน้ำหนักของยานพาหนะมีผลโดยตรงต่ออัตราการใช้เชื้อเพลิง การลดน้ำหนักของส่วนประกอบจะช่วยลดการปล่อยคาร์บอน ลดต้นทุนพลังงานในการบิน เพื่อเป้าหมายการลดการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์
Airbus Helicopters บริษัทการบินและอวกาศ ใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติจาก Trumpf ผลิตส่วนประกอบสำหรับเฮลิคอปเตอร์และเครื่องบิน เพื่อความแข็งแรงและน้ำหนักเบา
Airbus Helicopters ใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติของ Trumpf เพื่อผลิตส่วนประกอบทางโครงสร้างที่ทำจากไทเทเนียมและอลูมิเนียมที่มีความแข็งแรงสูง
(ที่มา: Trumpf)
Airbus Helicopters กำลังขยายความสามารถในการผลิตแบบเติมวัสดุด้วยศูนย์การพิมพ์ 3 มิติแห่งใหม่ในเมือง Donauwörth ประเทศเยอรมนี โดยที่ Trumpf ดำเนินการจัดหาเครื่องจักรสำหรับการพิมพ์โลหะ 3 มิติให้
Helmut Färber ผู้จัดการไซต์ของ Airbus Helicopters ในเมือง Donauwörth กล่าวว่า “เรากำลังผลิตเฮลิคอปเตอร์แห่งอนาคตด้วยกระบวนการผลิตที่เป็นนวัตกรรม เราใช้การพิมพ์ 3 มิติเพื่อช่วยลดน้ำหนักส่วนประกอบเฮลิคอปเตอร์” นอกจากน้ำหนักที่เบาแล้วยังเป็นการลดการใช้เชื้อเพลิง ลดต้นทุน และลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้อีกด้วย นอกจากนี้ Airbus Helicopters ยังใช้กระบวนการพิมพ์ 3 มิติ ผลิตส่วนประกอบสำหรับ City Airbus ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า เฮลิคอปเตอร์ Racer สำหรับการทดลองความเร็วสูง เครื่องบินโดยสาร Airbus A350 และ A320 เป็นต้น
การผลิตแบบเติมวัสดุนั้นสามารถพิมพ์ส่วนประกอบทั้งหมดออกมาเป็นชิ้นเดียวกันได้ ซึ่งช่วยให้น้ำหนักเบาขึ้น ส่วนประกอบต่าง ๆ มีความเสถียรภาพ ตรงตามข้อกำหนด ผ่านเกณฑ์ความปลอดภัยที่เข้มงวดของอุตสาหกรรมการบิน
City Airbus แท็กซี่ EV บินได้ ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
(ที่มา: Business Insider)
Airbus Helicopters ใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติจาก Trumpf เพื่อผลิตส่วนประกอบทางโครงสร้างที่ทำจากไทเทเนียมและอลูมิเนียมที่มีความแข็งแรงสูง “การผลิตแบบเติมวัสดุช่วยลดต้นทุนการผลิตและวัตถุดิบในอุตสาหกรรมการบินได้ เนื่องจากใช้เฉพาะวัสดุที่นักออกแบบต้องการใช้ในส่วนประกอบนั้นจริง ๆ” Bannmüller กล่าว นอกจากนี้ ยังนำผงโลหะที่ไม่ได้ใช้กลับมาใช้ใหม่ได้ ในทางกลับกันกระบวนการผลิตแบบเดิมต้องใช้วัตถุดิบมากกว่าถึง 10 เท่า และเมื่อทำการกัดหรือถากไปแล้ววัตถุดิบส่วนใหญ่จึงกลายเป็นของเสีย
คลิปวิดีโอ CityAirbus – เที่ยวบินแรก ไร้คนขับ
บทความอ้างอิง: https://www.etmm-online.com/
- ผลิตวัสดุโลหะทรงกลมสำหรับเครื่องพิมพ์ 3 มิติได้เองด้วยเครื่อง ATO Lab+ จาก 3D Lab
- Ex-AM 255 เครื่องพิมพ์ 3 มิติหลายวัสดุและหลายกระบวนการ ลดต้นทุนได้ถึง 10 เท่า!!
- ยกระดับการผลิตอวัยวะเทียมแบบกำหนดเองด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติล่าสุดจาก Eplus 3D
- ‘Method XL’ เครื่องพิมพ์ 3 มิติระดับวิศวกรรม รองรับชิ้นส่วนขนาดใหญ่
About The Author
You may also like
-
การผลิตแบบเติมวัสดุสามารถลดการปล่อยคาร์บอนและประหยัดทรัพยากรได้
-
TOYOTA ลูกค้ารายแรกของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ Stratasys F3300 เพื่อรองรับการผลิตได้เร็วขึ้น
-
Amaize ซอฟต์แวร์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI รองรับอุตสาหกรรมพลังงาน การบินอวกาศ
-
‘Voxelfill’ การพิมพ์ส่วนประกอบ 3 มิติ ที่มีความแข็งแกร่ง สม่ำเสมอ และน้ำหนักเบา
-
Lehvoss และ Evonik ร่วมกันพัฒนาผงวัสดุสำหรับการพิมพ์ 3 มิติในงานอุตสาหกรรม