CO2ptima

‘CO2ptima’ โซลูชันดิจิทัลวัดคาร์บอนฟุตพรินต์จากการผลิตได้อย่างโปร่งใส

ภาษีคาร์บอนข้ามแดนทำให้บริษัทที่จะส่งออกไปยังสหภาพยุโรปต้องจัดทำเอกสารรายงานเพื่อแจกแจงคาร์บอนฟุตพรินต์ของผลิตภัณฑ์ แต่เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตส่วนใหญ่ในปัจจุบันยังไม่สามารถวัดคาร์บอนฟุตพรินต์ได้จริงจึงใช้วิธีประเมินกิจกรรมโดยคำนวณจากข้อมูลเปรียบเทียบ (Benchmark Data) 

ทางรัฐบาลกลางเยอรมนีพยายามขับเคลื่อนการผลิตสีเขียวโดยให้เงินทุนแก่บริษัทเอกชนเพื่อพัฒนาโซลูชันดิจิทัลในการวัดคาร์บอนฟุตพรินต์ โดยมีตัววัดพารามิเตอร์ในกระบวนการต่าง ๆ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และคำนวณเป็นคาร์บอนฟุตพรินต์ เมื่อได้ข้อมูลที่เที่ยงตรงว่ากิจกรรมใด ปล่อยคาร์บอนเท่าไร ก็สามารถทำข้อมูลเป็นภาพได้ (Data Visualization) เพื่อให้มองเห็นคอขวดที่จะต้องลำดับความสำคัญในการลดการปล่อยคาร์บอน ให้การลดคาร์บอนมีประสิทธิผล เพราะการประเมินไม่ใช่การวัดจึงไม่มีความแม่นยำ “สิ่งใดที่สามารถวัดผลได้ สิ่งนั้นย่อมสามารถถูกบริหารจัดการให้ดีขึ้นได้”

บริษัท Meraxis Services และ Rehau Industries พร้อมพันธมิตรอีก 3 ราย ได้รับเงินทุนสำหรับโครงการ ‘CO2ptimat’ จากกระทรวงเศรษฐกิจและการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี หรือ BMWK (Federal Ministry for Economic Affairs and Climate Action เป้าหมายของโครงการ CO2ptimat คือ การพัฒนาโซลูชันดิจิทัลที่ช่วยให้บริษัทแปรรูปพลาสติกสามารถระบุและปรับคาร์บอนฟุตพรินต์ที่เกิดขึ้นจริงในการผลิตให้มีความเหมาะสมที่สุด

Dr Franziska Brantner, Parliamentary State Secretary at the Federal Ministry for Economic Affairs and Climate Protection (first from left) together with the CO2ptimat team.

Dr Franziska Brantner รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ (คนแรกจากด้านซ้าย) พร้อมกับทีมงาน CO2ptimat

(ที่มา: BMWK)

ผู้แปรรูปพลาสติกจำเป็นต้องรายงานและลดคาร์บอนฟุตพรินต์ผลิตภัณฑ์ของพวกเขามากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตส่วนใหญ่มักไม่มีข้อมูลการปล่อยคาร์บอนระหว่างการผลิตที่ถูกต้อง พวกเขาจึงอ้างอิงข้อมูลเปรียบเทียบ (Benchmark Data) และใช้วิธีประมาณการ ดังนั้นโซลูชันใหม่นี้จะเข้ามาช่วยบริษัทต่าง ๆ ในการระบุคาร์บอนฟุตพรินต์ในผลิตภัณฑ์ของพวกเขาโดยอ้างอิงจากข้อมูลของพวกเขาเอง

“การวัดการปล่อยคาร์บอนที่ถูกต้องเป็นข้อกำหนดเบื้องต้นสำหรับการระบุและยังทำให้เห็นถึงการปรับปรุงที่เป็นไปได้ในขั้นตอนถัดไป โซลูชันดิจิทัลของเรานั้นแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของวัสดุ ส่วนผสมพลังงาน และพารามิเตอร์อื่น ๆ ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตและต้นทุน” Thomas Poddey, Project Manager for Sustainability & Digitalization และผู้จัดการโครงการ CO2ptimat ที่บริษัท Meraxis Services กล่าว 

โซลูชันดิจิทัลนี้จะเชื่อมต่อกับระบบไอทีที่ใช้ในสายการผลิตเพื่อที่จะเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวกับการปล่อยคาร์บอนทั้งหมด Meraxis ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการพัฒนาโซลูชันดิจิทัลสำหรับอุตสาหกรรมพลาสติก จึงได้ร่วมมือกับพันธมิตรด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับวิธีการรวมและประเมินข้อมูล นอกจากนี้ยังได้พัฒนาพอร์ทัลลูกค้าดิจิทัลและเครื่องมือแนะนำวัสดุที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานที่ต้องการ เครื่องมือดิจิทัล Co2ptimat จะได้รับการทดสอบและตรวจสอบความถูกต้องภายใต้สภาวะการใช้งานจริงที่ Rehau Industries 

สำหรับปี 2024 ข้อมูลที่แบรนด์นำมาใช้เพื่อต่อยอดทางธุรกิจ หรือ Data Point ที่มีอยู่จะเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษและจะมีการขยายระบบเครือข่ายด้วย ข้อมูลนี้จะนำมาใช้ทดสอบ CO2ptimat ในระหว่างการผลิตวัสดุปิดขอบ (Edgeband) ที่โรงงาน Rehau “Data Point จะช่วยให้เราสามารถบันทึกการปล่อย CO2 จากการผลิตของเราได้อย่างแม่นยำ และเมื่อใช้โซลูชันดิจิทัลเราจะสามารถสร้างแบบจำลอง ระบุ และดำเนินการประหยัดขึ้นได้ อีกทั้งในอนาคตทุกบริษัทที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานจะเก็บรวบรวมข้อมูลและสามารถนำมาใช้งานได้ สิ่งเหล่านี้จะเป็นแนวทางใหม่ในกระบวนการลดการปล่อยคาร์บอน” Daniel Elfe-Degel, ผู้จัดการผลิตภัณฑ์และเจ้าหน้าที่ด้านความยั่งยืนของแผนก Interior Solutions กล่าวอธิบาย

CO2ptimat เป็นหนึ่งใน 21 โครงการที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากการแข่งขัน Green Tech Innovation ของ BMWK ซึ่งเป็นความคิดริเริ่มของ BMWK เพื่อสนับสนุนนวัตกรรมดิจิทัลที่จะช่วยให้เศรษฐกิจได้บรรลุถึงความยั่งยืนมากขึ้นควบคู่ไปกับการปกป้องสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม นอกจาก Meraxis Services และ Rehau Industries ยังมีสถาบัน Fraunhofer สำหรับเทคโนโลยีการผลิต, INC Invention Center ในวิทยาเขต RWTH Aachen และผู้สร้างภาพยนตร์ Terdex ที่มีส่วนร่วมในโครงการ CO2ptimat ด้วย

บทความอ้างอิง: https://www.etmm-online.com/

บทความที่น่าสนใจ

About The Author