PET/F สารชีวภาพที่ให้คาร์บอนฟุตพรินต์เป็นลบสำหรับการผลิตบรรจุภัณฑ์

PET/F สารชีวภาพที่ให้คาร์บอนฟุตพรินต์เป็นลบสำหรับการผลิตบรรจุภัณฑ์

ขวดน้ำดื่มพลาสติกที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวันนั้น คือ ขวดพลาสติก PET (Polyethylene Terephthalate) ที่โดยปกติสามารถนำมารีไซเคิลได้ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด ส่วนที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ก็จะเกิดการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ในขณะที่การรีไซเคิลพลาสติก PET ที่นำมาใช้บรรจุน้ำและอาหารเพื่อการบริโภคเพิ่งได้รับการปลดล็อกเมื่อปี 2022 ที่ผ่านมา เพื่อให้สามารถนำ rPET (PET รีไซเคิล) มาใช้บรรจุน้ำและอาหารได้ใหม่ ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนจากการผลิตพลาสติกใหม่ (Virgin Plastic)

อย่างไรก็ตาม มีการนำร่องในการนำ rPET มาใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มน้ำอัดลมในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา โดยบริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โคเบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด นำร่องด้วยเครื่องดื่มเป๊ปซี่ ออริจินัล และ เป๊ปซี่ไม่มีน้ำตาลขนาด 550 มิลลิลิตร เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2023 เพื่อช่วยลดปริมาณการใช้พลาสติกใหม่ (Virgin PET) หลังจากนั้นจะต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ ‘ทีพลัส’ ชาอู่หลงพร้อมดื่ม และในปีนี้เครื่องดื่มเป๊ปซี่มีการนำ rPET ออกมาใช้ในหลายประเทศแล้ว เช่น สหรัฐฯ ยุโรปนิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และเวียดนาม โดยเวียดนามเปิดตัวผลิตภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อมมาแล้วราว ๆ 2 ปี สามารถจุดประกายสร้างกระแสเชิงบวกจากตลาดและผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี (เครดิตข้อมูล: ฐานเศรษฐกิจ) 

สธ.ปลดล็อกภาชนะใส่อาหารทำจาก ‘พลาสติกรีไซเคิล’ ได้ (เครดิต: ไทยพีบีเอส)

ไตรมาส 2 บิ๊กธุรกิจเครื่องดื่มลั่นระฆัง ใช้ขวด rPET ยกระดับความยั่งยืน (เครดิต: ฐานเศรษฐกิจ)

ไทยปลดล็อกพลาสติก rPET สู่ Food Contact Grade ปรากฏการณ์ใหม่แห่งการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เต็มรูปแบบ (เครดิต: FTI กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก)

rPET (Recycled PET) ยังไม่สามารถทดแทนพลาสติกใหม่ได้ทั้งหมด

การรีไซเคิลวัสดุเดิมทั้ง 100% จะประหยัดการปล่อยคาร์บอนได้มากจากการที่ไม่ต้องผลิตใหม่ โดยเริ่มต้นตั้งแต่การใช้วัสดุที่รีไซเคิลได้ 100% ที่ผ่านการวางแผนล่วงหน้า อย่างไรก็ตาม ในการใช้ rPET ยังมีข้อพิจารณาอีกหลายอย่าง อาทิ ต้นทุนการผลิต rPET ที่รวมการเก็บและทำความสะอาดพลาสติกรีไซเคิลในราคาที่สูงกว่าการผลิตพลาสติก PET ใหม่เป็นสิ่งที่ทำให้การใช้ rPET ยังไม่แพร่หลาย (ได้ข้อดีเชิงสิ่งแวดล้อม แต่ข้อเสียเรื่องต้นทุน) ตลอดจนซัพพลายของ rPET เพียงพอต่อความต้องการใช้งานทั้ง 100% หรือไม่ ข้อพิจารณาต่าง ๆ เหล่านี้จึงยังไม่สามารถทำได้ทั้งหมดในทันทีทันใด ตั้งแต่ไตรมาส 2 เป็นต้นมาจึงยังเป็นการใช้ทดแทนเพียงบางส่วน ความต้องการในการผลิตขวด PET ใหม่ยังคงมีอยู่ ซึ่งยังไม่เป็นการประหยัดการปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศ 

วัสดุ PET ที่ได้รับการรับรองคาร์บอนฟุตพรินต์เป็นลบ ช่วยลดการปล่อยคาร์บอน 

วัสดุที่ใช้ในกระบวนการผลิตมาพร้อมคาร์บอนฟุตพรินต์ นั่นหมายถึง การผลิตวัสดุก่อให้เกิดการปล่อยคาร์บอนเสมอ โดยปกติคาร์บอนฟุตพรินต์จะเป็นบวก แต่ในปัจจุบันมีบริษัทที่ผลิตและขายวัสดุที่ผ่านการรับรองว่าคาร์บอนฟุตพรินต์เป็นลบโดยผลิตมาจากวัสดุชีวภาพที่มีการดูดซับและกักเก็บคาร์บอนมาก่อน 

Origin Materials บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นลบ (Carbon Negative) ร่วมมือกับ Husky ผู้ผลิตและให้บริการระดับโลกด้านระบบการฉีดขึ้นรูปในอุตสาหกรรมพลาสติก โดยที่ Origin ประสบความสำเร็จในการผลิตพอลิเมอร์จากการรวม FDCA (กรด Furandicarboxylic) สารเคมีชีวภาพที่มีความยั่งยืนซึ่งเป็นพลาสติก PET ที่รีไซเคิลได้ทั่วไป และ Husky ขึ้นรูปพอลิเมอร์ไฮบริด ‘PET/F’ ให้เป็นพรีฟอร์มเป่าให้กลายเป็นขวดพลาสติก ดังนั้น บริษัทต่าง ๆ จึงใช้เทคโนโลยีการฉีดขึ้นรูปและอุปกรณ์การผลิตของ Husky ซึ่งเป็นระดับการผลิตเชิงพาณิชย์ที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถของ PET/F ซึ่งเป็นพอลิเมอร์ที่ผลิตด้วย FDCA เพื่อรวมเข้ากับระบบการผลิต PET ที่มีอยู่ได้ โดย PET ของ Origin มีคุณสมบัติพิเศษที่สำคัญ คือ การใช้สารตั้งต้น CMF ที่ผลิตจากเศษไม้ซึ่งมีคาร์บอนฟุตพรินต์เป็นลบและตรวจสอบความถูกต้องโดยการประเมินวัฎจักรชีวิตโดย Deloitte 

Origin successfully polymerized the bio-based sustainable chemical FDCA into the common recyclable plastic, PET, and Husky molded the resulting “PET/F” hybrid polymer into preforms that were then blown into bottles.

Origin ประสบผลสำเร็จในการผลิตพอลิเมอร์ในสารเคมี FDCA ที่มีความยั่งยืนทางชีวภาพซึ่งเป็นพลาสติกที่รีไซเคิลได้ทั่วไป โดยให้ Husky ขึ้นรูปพอลิเมอร์ไฮบริด ‘PET/F’ ให้เป็นพรีฟอร์มเป่าให้กลายเป็นขวดพลาสติก

(ที่มา: Husky)

Origin ผลิต PET/F จากสารตั้งต้นที่มีคาร์บอนฟุตพรินต์เป็นลบ

Origin คาดว่าจะพัฒนาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ PET/F ที่มาจากชีวภาพ 100% มีการปล่อยคาร์บอนที่ต่ำ สามารถรีไซเคิลได้เต็มรูปแบบ และให้ประสิทธิภาพที่เหนือกว่าเมื่อเทียบกับ PET แบบเดิมจากปิโตรเลียม 100% โดยที่จะนำเสนอประสิทธิภาพที่ ‘สามารถปรับได้’ ด้วยการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการผลิตและปริมาณโคพอลิเมอร์ FDCA ที่ใช้ เช่น ประสิทธิภาพเชิงกลที่ดีขึ้น และคุณสมบัติป้องกันการซึมผ่านของอากาศที่ช่วยควบคุมอายุการเก็บรักษาให้ยาวนานขึ้น

นอกจาก FDCA จะเป็นสารตั้งต้นที่ใช้ในการผลิตพอลิเมอร์ไฮบริด ‘PET/F’ ดังที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว FDCA ยังเป็นสารตั้งต้นในการผลิต ‘PEF’ (Polyethylene Furanoate) พอลิเมอร์ที่มีความยั่งยืนและมาพร้อมกับประสิทธิภาพสำหรับบรรจุภัณฑ์ โดย Origin คาดว่า PEF จะเป็นวัสดุชีวภาพ 100 เปอร์เซ็นต์ที่สามารถรีไซเคิลได้เต็มรูปแบบ มีต้นทุนต่อหน่วยที่คุ้มค่า ให้คาร์บอนฟุตพรินต์ที่ลดลง รวมถึงมีความแข็งแรง มีคุณสมบัติทางความร้อนและการป้องกันการผ่านของอากาศที่เหนือกว่าวัสดุจากปิโตรเลียมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในขณะนี้

บทความอ้างอิง: https://www.etmm-online.com/

บทความที่น่าสนใจ

About The Author