แม่พิมพ์เสียหายจากการขูดขีด ป้องกันได้ด้วยการเคลือบผิว 

แม่พิมพ์เสียหายจากการขูดขีด ป้องกันได้ด้วยการเคลือบผิว 

หากจะกล่าวถึงการหล่อฉีดขึ้นรูปในวัสดุทั่วไปอย่างพลาสติก เนื้อวัสดุสามารถหลอมละลายและไหลเข้าสู่แม่พิมพ์ได้ เนื้อวัสดุมีความเรียบลื่น แม่พิมพ์สามารถใช้งานได้ดี ไม่มีปัญหา แต่หากวัสดุที่ใช้ก่อให้เกิดการขูดขีดต่อแม่พิมพ์อย่างวัสดุเสริมใยแก้ว การขูดขีดสามารถสร้างความเสียหายแก่แม่พิมพ์ได้ จะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร? คำตอบ คือ การเคลือบผิวแม่พิมพ์เพื่อปกป้องจากการขูดขีดของวัสดุ และยังทำให้วัสดุไหลได้ง่ายขึ้น ใช้อุณหภูมิที่ต่ำลง อีกทั้งช่วยประหยัดพลังงานอีกด้วย

Siebenwurst บริษัทผู้ผลิตเครื่องมือและแม่พิมพ์ และบริษัท Mercedes-Benz ใช้การเคลือบปกป้องผิวของ Balinit Croma Plus จาก Oerlikon Balzers สำหรับกระบวนการผลิตพลาสติกเสริมใยแก้ว

This is one mould half of an injection mould from Siebenwurst, which is used to produce a component for the EQS from Mercedes-Benz. The rainbow-like iridescent surface is created by the Balinit Croma Plus protective coating from Oerlikon Balzers.

แม่พิมพ์ครึ่งหนึ่งของแม่พิมพ์ฉีดขึ้นรูปจาก Siebenwurst ที่ใช้ในการผลิตส่วนประกอบสำหรับ EQS จาก Mercedes-Benz เคลือบด้วยสารปกป้องผิว Balinit Croma Plus จาก Oerlikon Balzers จะมีพื้นผิวเป็นสีรุ้ง

(ที่มา: Oerlikon Balzers)

ช่องสำหรับใส่สัมภาระของรถยนต์ไฟฟ้า EQS ของ Mercedes-Benz ใช้การฉีดขึ้นรูปด้วยเครื่องมือจากบริษัท Siebenwurst ที่ตั้งอยู่ในเมือง Dietfurt รัฐ Bavaria ประเทศเยอรมนี โครงสร้างที่มีน้ำหนักเบาเป็นสิ่งสำคัญและหนึ่งในวัสดุที่เป็นตัวเลือกสำคัญสำหรับผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้มีน้ำหนักเบาที่สุด คือ วัสดุคอมโพสิตเสริมไฟเบอร์ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในระยะการขับขี่ ตัวอย่างเช่น แผ่นออร์กาโน (Organosheets) ซึ่งเป็นเมทริกซ์เทอร์โมพลาสติกหุ้มแก้ว และมีคาร์บอนหรือเส้นใยอาระมิด ซึ่งวัสดุเหล่านี้มีความแข็งแรงมากพอที่จะทดแทนส่วนประกอบโลหะและยังมีน้ำหนักเบาด้วย สำหรับช่องใส่สัมภาระของรถยนต์ไฟฟ้า Mercedes-Benz รุ่น EQS เป็นการผสมกันระหว่างโพลีโพรพีลีน (PP) และเส้นใยแก้ว 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของทาง Siebenwurst เพื่อปกป้องพื้นผิวของแม่พิมพ์ฉีดขึ้นรูปจากเส้นใยแก้วที่มีการขูดขีดเป็นอย่างมาก

The reason why Siebenwurst coated the injection mould for the production of load compartment recesses for the EQS with Balinit Croma Plus is that it is used to process polypropylene with 50 percent glass fibre reinforcement - highly abrasive! The coating, however, defies constant abrasion.
Pleased with a successfully manufactured load compartment recess made of glass-fibre reinforced polypropylene for the EQS from Mercedes-Benz. From left: Anton Liebl, Siebenwurst project manager, Bernd Hilneder, Oerlikon Hrsflow, and Michael Bilo, Oerlikon Balzers. To the right and behind them, respectively, one of the iridescently coated mould halves for the production of the component can be seen.

สารเคลือบปกป้องผิว Balinit Croma Plus มีแสงวิบวับเหมือนสีรุ้ง ใช้ทาบนแม่พิมพ์ผ่านกระบวนการ PVD (Physical Vapour Deposition) ถือเป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ ในการผลิตแม่พิมพ์หล่อฉีดขึ้นรูปที่ทนทานต่อการสึกหรอมากที่สุด

สารเคลือบผิวช่วยให้วัสดุหลอมละลายเลื่อนไหลเข้าสู่แม่พิมพ์ได้ง่ายและช่วยประหยัดพลังงาน

Balinit Croma Plus ช่วยให้พลาสติกหลอมละลายเลื่อนไหลได้ง่ายบนพื้นผิวแม่พิมพ์ฉีดขึ้นรูป ส่งผลให้พลาสติกไหลเข้าไปในแม่พิมพ์ได้ง่ายมากขึ้น ทำให้ลดแรงดันฉีด (Injection Pressure) และแรงดันโฮลด์ (Holding Pressure) ที่ใช้บนเครื่องจักร รวมถึงลดความเค้นบนแม่พิมพ์และเครื่องจักร ตลอดจนลดการสึกหรอและพลังงานที่ต้องใช้ นอกจากนี้ชั้นที่ลดแรงเสียดทานยังช่วยป้องกันคราบสะสมบนผิวแม่พิมพ์ ทำให้บริเวณแม่พิมพ์หล่อฉีดที่โดนเนื้อวัสดุหลอมละลายทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น ซึ่งช่วยลดการใช้น้ำยาถอดแบบแม่พิมพ์ (น้ำยาที่ฉีดบนแม่พิมพ์เพื่อป้องกันการเกาะตัวของวัสดุหลอมละลายบนแม่พิมพ์ ทำให้สามารถถอดชิ้นงานออกจากแม่พิมพ์ได้ง่าย)จากประสบการณ์ของ Siebenwurst การเคลือบเป็นสิ่งที่จำเป็นในการจัดการกับพลาสติกสมัยใหม่ เป็นอีกความรู้หนึ่งที่เราได้รับทราบว่า มีการแก้ปัญหาการผลิตวัสดุที่ขีดข่วนอยู่จำนวนมากด้วยการเคลือบในลักษณะนี้ ไม่เพียงแต่จะได้ประโยชน์ทางตรง คือ การป้องกันการสึกหรอ แต่ยังช่วยประหยัดพลังงานได้อีกด้วย

บทความอ้างอิง: https://www.etmm-online.com/

บทความอื่น ๆ

About The Author