‘บทสรุปความยั่งยืน’ คู่มือปฏิบัติสำหรับผู้ผลิตเครื่องมือและแม่พิมพ์ โดย VDWF

‘บทสรุปความยั่งยืน’ คู่มือปฏิบัติสำหรับผู้ผลิตเครื่องมือและแม่พิมพ์ โดย VDWF

‘บทสรุปความยั่งยืน’ คู่มือปฏิบัติสำหรับผู้ผลิตเครื่องมือและแม่พิมพ์ โดย VDWF

ความยั่งยืนกลายมาเป็นเกณฑ์ในการเลือกซัพพลายเออร์ ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ ในตอนนี้หลายภาคส่วนของโลกกำลังแข่งขันกันเพื่อเตรียมความพร้อม

เพราะการจัดเก็บภาษีคาร์บอนข้ามประเทศจะกลายเป็นต้นทุนการผลิตหากไม่สามารถทำตามเงื่อนไขได้ ส่งผลให้ต้นทุนในการขายของตลาดปลายทางสูงกว่าการแข่งขันได้ (หากไม่จ่ายภาษีคาร์บอน ก็ไม่สามารถวางขายในประเทศปลายทางได้) จึงเป็นเรื่องที่ต้องเร่งปรับตัวให้สอดคล้อง ในยุโรปมีความพยายามที่จะผลักดันความยั่งยืนให้เกิดขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจัดการประชุม Ark ในทุก ๆ  3 ปี เพื่อรวมเอาอุตสาหกรรมต่าง ๆ มาหารือแนะแนวทางให้แต่ละธุรกิจนำไปปรับใช้ รวมถึงการสาธิตงานวิจัยที่นำมาปฏิบัติแล้วได้ผล การพัฒนาที่มีประสิทธิภาพเริ่มต้นจากแนวทางที่ถูกต้อง ซึ่งนักวิชาการสามารถมีส่วนช่วยในการกำหนดทิศทางให้กับกลุ่มธุรกิจ แต่คำถามก็คือ ในภาพใหญ่ที่มีความสำคัญ แต่การจะนำมาปฏิบัตินั้นควรทำหรือต้องทำอย่างไรบ้าง ควรเริ่มตรงไหน อย่างไร? แนวทางหนึ่ง คือ การมีคู่มือแนะแนวทางที่จัดทำโดยนักวิชาการ ในบทความนี้เล่าถึงอีกหนึ่งความพยายามจากสมาคมผู้ผลิตในอุตสาหกรรมเครื่องมือและแม่พิมพ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายอุตสาหกรรมที่มีการให้ความรู้ แนะแนวทางต่าง ๆ ให้กับบริษัทในอุตสาหกรรมของตน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือให้ธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กในการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและต้องลงมือทำอย่างรวดเร็ว

Association of German Tool and Moldmakers (VDWF) ได้จัดตั้งคณะทำงานเป็นการเฉพาะเพื่อประเด็นเรื่องของความยั่งยืน ผู้เข้าร่วมงานได้ร่วมกันจัดทำ ‘บทสรุปสำหรับการประเมินและออกแบบแนวปฏิบัติทางธุรกิจที่ยั่งยืนในการผลิตเครื่องมือและแม่พิมพ์’ เพื่อเป็นแนวทางในการสนับสนุนบริษัทต่าง ๆ ในภาคอุตสาหกรรม

Dr. Wolfram Heger, Head of the VDWF Sustainability Working Group

Dr. Wolfram Heger หัวหน้าคณะทำงานด้านความยั่งยืนของ VDWF 

(ที่มา: VDWF)

ทุกวันนี้ ไม่มีใครสามารถเพิกเฉยในเรื่องของความยั่งยืนได้ นอกจากสื่อที่รายงานข่าวอย่างครอบคลุมกว้างขวางแล้ว บริษัทในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือและแม่พิมพ์ก็ยังให้ความสำคัญมากขึ้นในการพัฒนาและนำแนวคิดที่เหมาะสมมาปฏิบัติ โซลูชันการผลิตที่เป็นกลางต่อสภาพแวดล้อมก็กำลังได้รับการพัฒนาอย่างจริงจังในอุตสาหกรรมการผลิต และ ‘บทสรุปความยั่งยืน (Sustainability Compendium)’ ที่ซึ่งเขียนขึ้นโดยทีมผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืน 7 ท่าน สามารถอ่านเวอร์ชันภาษาอังกฤษได้ในช่วงไตรมาสที่ 2 ที่ เว็บไซต์ของสมาคม

‘บทสรุปความยั่งยืน’ประกอบด้วยความช่วยเหลือในการนำไปปฏิบัติจริง เพื่อบูรณาการความยั่งยืนให้เข้ากับธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ “เราต้องการมีส่วนช่วยในการแก้ไขด้านความยั่งยืนทั่วโลกอย่างจริงจัง ในขณะเดียวกันก็เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของผู้ผลิตเครื่องมือและแม่พิมพ์” Dr Wolfram Heger หัวหน้าคณะทำงานอธิบาย การพิจารณาด้านเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญ “ในการผลิตเครื่องมือและแม่พิมพ์ ไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงการจัดการความยั่งยืนในเชิงรุกและเฉพาะแต่ละบริษัทได้” ที่ปรึกษาด้านการจัดการ อธิบาย

ความยั่งยืนเป็นปัจจัยการแข่งขันในอนาคต

บทสรุปนี้ให้แนวคิดด้านความยั่งยืนที่ปรับให้เหมาะสมกับบริษัทผลิตเครื่องมือและแม่พิมพ์ มีการกำหนดหัวข้อลำดับความสำคัญตามการวิเคราะห์ที่เป็นรูปธรรม มีการอธิบายความต้องการที่สำคัญมากที่สุด รวบรวมสิ่งที่เป็นตัวควบคุมและตัวประเมินความเหมาะสมในการผลิตเครื่องมือและแม่พิมพ์ นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอกรอบการทำงานที่สามารถใช้เป็นทิศทางให้กับบริษัทต่าง ๆ ในภาคส่วนได้ หัวข้อมีตั้งแต่ ‘การกู้คืนความร้อน’ ‘โลจิสติกส์ภายในและภายนอก’ ไปจนถึง ‘พลาสติกชีวภาพในกระบวนการหล่อฉีดขึ้นรูป’ ภาคผนวกที่แนบมาให้เป็นข้อแนะนำที่เป็นรูปธรรมและเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง บทสรุปนี้ออกแบบให้เป็นเอกสารที่มีชีวิต มีข้อกำหนดทางกฎหมาย มีการจัดการที่ยั่งยืนทางความต้องการด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมในปัจจุบัน และยังเน้นในเรื่องการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในแง่ของการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขกรอบการทำงานและความคิดเห็นของผู้ใช้งาน 

*  เอกสารที่มีชีวิต (Living Document) หมายถึง เอกสารที่มีการดัดแปลง แก้ไข และอัปเดตอยู่เสมอ มีความเป็นปัจจุบัน

บริษัทจำนวนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่มีขนาดเล็กยังคงอยู่ที่จุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนมากขึ้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีการลงมืออย่างรวดเร็ว โดยคำนึงถึงอนาคตอันใกล้ว่าข้อมูลการปล่อย CO2 ของบริษัทและการใช้พลังงานนั้นจะเป็นที่ต้องการของพันธมิตรทางธุรกิจมากขึ้น นั่นหมายถึง คาร์บอนฟุตพรินท์ต้องไม่เกินกำหนด และแหล่งพลังงานต้องเป็นพลังงานสะอาด ซัพพลายเออร์จะถูกเลือกบนพื้นฐานของความสมดุลเชิงนิเวศ จะมีการเข้าสู่มาตรฐานและแนวทาง ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ การอนุรักษ์ทรัพยากรหรือซัพพลายเชนที่มีความรับผิดชอบต่อสิทธิมนุษยชน ความท้าทายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกำลังเข้าไปสู่กระบวนการทางกฎหมายอย่าง EU Green Deal หรือเข้าไปอยู่ในรายการความต้องการของลูกค้าและผู้สนับสนุนเงินทุนในอัตราเร็วมาก คนที่ไม่อยากถูกทิ้งไว้ข้างหลังในระยะยาวจึงต้องลงมืออย่างเร่งด่วน “การตอบโจทย์ความท้าทายด้านความยั่งยืนที่มีเป้าหมายในธุรกิจหลักนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งในความรับผิดชอบขององค์กร” Heger อธิบาย ‘บทสรุปความยั่งยืน’ อาจเป็นก้าวแรกไปสู่ทิศทางที่ถูกต้อง

บทความอ้างอิง: https://www.etmm-online.com/

บทความอื่น ๆ

About The Author