การพิมพ์ 3 มิติได้รับการยอมรับในการผลิตจริงมากขึ้นในปัจจุบัน โดยให้ประโยชน์ในด้านของการผลิตแบบไม่มีขั้นต่ำ และไม่มีเศษเหลือทิ้งมากเหมือนการผลิตแบบธรรมดา ตลอดจนการสร้างต้นแบบที่รวดเร็ว อุตสาหกรรมที่ต้องมีประสิทธิภาพสูงอย่าง การแข่งรถ การบินอวกาศ ก็ได้เลือกใช้การพิมพ์ 3 มิติในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพราะสามารถปรับแบบในคอมพิวเตอร์และพิมพ์ออกมาได้ในทันที
จากแต่เดิมต้องรอสั่งผลิตจากซัพพลายเออร์และต้องขนส่งไปมาซึ่งใช้เวลาเป็นอย่างมาก ปัจจุบันการพิมพ์ 3 มิตินั้นถ้ามีเครื่องพิมพ์และวัสดุก็สามารถทำได้ทันที ผู้ผลิตเครื่องพิมพ์ 3 มิติส่วนใหญ่ออกแบบให้เครื่องพิมพ์นั้นสามารถทำงานครบจบในเครื่องเดียว และสามารถนำไปเป็นสถานีหนึ่งในสายการผลิตได้เลย
‘โตโยต้า’ ลูกค้ารายแรกของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ‘Stratasys F3300’ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพในการสนับสนุนการผลิตและการสร้างต้นแบบ (Prototyping) โตโยต้า เป็นบริษัทญี่ปุ่นที่เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องของคุณภาพและความน่าเชื่อถือ การที่โตโยต้าเลือกใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติเป็นตัวบ่งชี้ถึงความมั่นใจในการใช้งานเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ
Dallas Martin, Additive Application Engineer ของ โตโยต้า (ซ้าย) และ Scott Crump, Chief Innovation Officer ของ Stratasys (ขวา) พร้อมกับเครื่องพิมพ์ Stratasys F3300 ใหม่ ที่เปิดตัวในงานแสดงสินค้า Formnext 2023 สำหรับการผลิตแบบเติมวัสดุ ที่ประเทศเยอรมนี
(ที่มา: Stratasys)
‘Stratasys’ บริษัทการพิมพ์ 3 มิติ ประกาศว่า โตโยต้า ได้ลงนามในข้อตกลงเป็นลูกค้ารายแรกที่ซื้อเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ‘Stratasys F3300’ ที่ล้ำสมัยตัวใหม่ โตโยต้าจะใช้ F3300 ตัวใหม่นี้รองรับการผลิตใหม่ รวมถึงชิ้นส่วนและฟิกเจอร์ต่าง ๆ ตลอดจนแอปพลิเคชันการสร้างต้นแบบเพื่อช่วยนำผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น
คลิปวิดีโอ เปิดตัวเครื่องพิมพ์ 3 มิติ Stratasys F3300 ใหม่
F3300 เป็นเครื่องพิมพ์ระบบ FDM (Fusion Deposition Modelling หรือ การหลอมวัสดุเส้นพลาสติกให้กลายเป็นของเหลวและฉีดออกมาเป็นเส้นด้วยหัวฉีด) รุ่นใหม่ล่าสุดจาก Stratasys สร้างขึ้นเพื่อขยายการผลิตแบบเติมวัสดุ โดยสามารถผลิตชิ้นส่วนที่มีความซับซ้อนและมีความแม่นยำสูง ซึ่งมีความสำคัญต่อการออกแบบและการใช้งานของยานพาหนะตั้งแต่ต้นแบบไปจนถึงส่วนประกอบใช้งานปลายทาง เครื่องพิมพ์ได้เพิ่มความอเนกประสงค์มากขึ้นด้วยการปรับเปลี่ยนและการโหลดที่เร็วขึ้น มีการสอบเทียบอัตโนมัติ และสามารถผลิตได้ปริมาณงานที่สูงขึ้น ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ F3300 จึงลดต้นทุนต่อชิ้นส่วนลงได้มากถึง 25 เปอร์เซ็นต์ พิมพ์ได้เร็วกว่าเครื่องพิมพ์ FDM สำหรับการผลิตอื่น ๆ มากขึ้นถึง 2 เท่า และยังมีความถูกต้องแม่นยำเพิ่มขึ้นถึง 25 เปอร์เซ็นต์ ในปัจจุบันประสิทธิภาพและความสามารถที่ได้จาก F3300 เปรียบได้กับชื่อเสียงของโตโยต้าในด้านการส่งมอบยานยนต์นวัตกรรมคุณภาพสูงให้กับลูกค้าทั่วโลก
โตโยต้าจะใช้ F3300 ตัวใหม่นี้รองรับการผลิตใหม่ รวมถึงชิ้นส่วนและฟิกเจอร์ต่าง ๆ ตลอดจนแอปพลิเคชันการสร้างต้นแบบเพื่อช่วยนำผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น
(ที่มา: Stratasys)
“การมีโอกาสนำเครื่องพิมพ์ 3 มิติ F3300 เข้ามาร่วมกับการปฏิบัติงานเติมวัสดุนั้นถือเป็นก้าวกระโดดครั้งใหญ่ไปสู่การบรรลุเป้าหมายองค์กรของเรา ความสามารถของเครื่องพิมพ์ F3300 จะช่วยให้เราสามารถมีโอกาสเปิดตัวการผลิตแบบเติมวัสดุใหม่ ๆ ของเราได้เร็วขึ้น” Eduardo Guzman ผู้จัดการฝ่ายเทคโนโลยีขั้นสูงของโตโยต้ากล่าว“เรามีความสนใจร่วมกันในการนำเสนอนวัตกรรมและคุณภาพที่เหนือกว่าให้แก่ลูกค้าของเรา และการร่วมมือกับโตโยต้าแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นร่วมกันในการพัฒนาการผลิตที่ดีขึ้น ชาญฉลาด และยั่งยืนมากขึ้น เครื่องพิมพ์นี้สร้างขึ้นโดยคำนึงถึงการผลิตเป็นหลัก ซึ่งคำจำกัดความสำหรับ F3300 กับการผลิตแบบเติมวัสดุในโรงงานอุตสาหกรรม คือ ลดต้นทุน รวดเร็ว และความสะดวกในการให้บริการ” Rich Garrity, Chief Industrial Business Unit Officer ของ Stratasys กล่าว
บทความอ้างอิง: https://www.etmm-online.com/
บทความที่น่าสนใจ
- ลดต้นทุนไปได้เยอะ รีวิวจากผู้ใช้งานจริงในโรงงาน | TOYOTA AGV Key Cart [SuperSource]
- Gindumac เปิดตัวแพลตฟอร์มซื้อขายเครื่องจักรมือสอง ยืดวงจรชีวิตเครื่องจักรเพื่อความยั่งยืน
- ลดต้นทุนพลังงานในอุตสาหกรรมพลาสติกด้วยการใช้ท่อควบคุมอุณหภูมิ HIF
- นึกถึงโซลูชัน DAQ สำหรับงานตรวจสอบครอบจักรวาล นึกถึง QuantumX
About The Author
You may also like
-
‘Vapor Smoothing’ เทคนิคการทำหลังกระบวนการที่ทำให้ TPU กันน้ำและยืดหยุ่นเป็นพิเศษ
-
Trumpf ร่วมมือกับสตาร์ทอัพด้านอวกาศ เพื่อภารกิจอวกาศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
-
Quickparts แนะนำทางเลือกที่ยืดหยุ่นในการรอสินค้า สำหรับการพิมพ์ 3 มิติ
-
Stratasys เพิ่ม 6 วัสดุการพิมพ์ 3 มิติใหม่เพื่อตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลาย
-
Stratasys และ Encee GmbH ร่วมกันขยายโซลูชันการพิมพ์ 3 มิติสู่ภาคส่วนการแพทย์