“มีความบางและกะทัดรัดมาก และสามารถเชื่อมต่อเข้ากับ manifold ได้เป็นอย่างดี” คือคำบรรยายคุณลักษณะสำคัญของหัวฉีดรุ่น Slim DF 8 จาก Incoe ผู้ผลิตระบบ hot runner
หัวฉีด Slim DF 8 ได้รับการพัฒนามาจากหัวฉีดรุ่น Slim DF 5 ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าประสบความสำเร็จอย่างมากในทางปฏิบัติ Incoe แจกแจง และได้ตัดสินใจว่า ถึงเวลาแล้วที่จะลดขนาดหัวฉีดรุ่นถัดไปคือ DF 8 – ใน Direct-Flo hot runner range
และผลลัพธ์ก็คือ: เส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกลดลงประมาณ 24 % เป็น 19.8 มม. และระยะห่างของหัวฉีดลดลงประมาณ 15% เป็น 27.5 มม. หัวฉีดรุ่น Slim DF 8 รุ่นใหม่มีให้เลือกใช้งาน โดยมีความยาวสูงสุดถึง 240 มิลลิเมตรหรือ 232 มิลลิเมตร ในกรณีหัวฉีดเดี่ยว หัวฉีดรุ่นใหม่นี้ช่วยให้การฉีดขึ้นรูปงานเป็นไปอย่างแม่นยำด้วยช่องว่างที่แคบลง
ตามแนวคิด Seal-Fit ของผลิตภัณฑ์ Incoe หัวฉีด Slim-Flo จะถูกติดตั้งใน manifold ทำให้การเชื่อมต่อไร้การรั่วซึม ซึ่ง injection runners ของหัวฉีดและ manifold จะอยู่ในแนวเดียวกันเสมอ ทำให้การผลิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพด้วย multi-cavity mould ด้วยข้อดีจากหัวฉีดแบบเกลียว หรือ screwed-in nozzles มีระยะช่องว่างต่ำสุดและมีจำนวนช่องว่างสูงกว่า เช่นเดียวกับ Slim DF 5 นอกจากนี้ Slim DF 8 ยังสามารถใช้ได้กับเครื่องทำความร้อนแบบ SBH ซึ่งได้รับการพัฒนาให้มีขนาดรอบนอกลดลง โดยเฉพาะระยะห่างของช่องว่างที่แคบลง
ข้อมูลเพิ่มเติม:
Hot runner system คือระบบทางวิ่งร้อนที่พัฒนามาจากระบบ 2&3 plates จะมีการเพิ่มอุปกรณ์ คือ Manifold, Nozzle, Heater, Thermocouple, Temperature Control Unit โดยจะทำการติดตั้ง Manifold และ Nozzle ทำให้มีการให้ความร้อนบริเวณทางวิ่ง (Runner) และบริเวณหัวฉีด โดยขณะทำการฉีดน้ำพลาสติก พลาสติกเหลวจะไหลเข้าสู่ทางเข้าแม่พิมพ์ (Gate) แล้วไหลเข้าสู่คาวิตี้ (Cavity) ของแม่พิมพ์หลังจากนั้นน้ำพลาสติกเหลวในคาวิตี้จะแข็งตัวเป็นชิ้นงาน แต่น้ำพลาสติกเหลวในระบบทางวิ่งที่มีการให้ความร้อนจะไม่แข็งตัวเพราะจะมีอุณหภูมิสูงกว่าจุดหลอมเหลวของพลาสติกที่ใช้ จึงไม่มี Sprue & Runner ติดมากับชิ้นงาน ดังนั้นจึงไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้าสำหรับเครื่องบด เครื่องตัด เครื่องย่อยและเครื่องอบไร้ความชื่น รวมทั้งค่าซ่อมบำรุง พื้นที่โรงงาน ไม่ต้องเสียค่าแรงงานเพิ่มทำให้ลดต้นทุนการผลิตให้แก่โรงงานแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกจึงกล่าวได้ว่าแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกระบบทางวิ่งร้อนนี้เป็นแม่พิมพ์ที่ช่วยประหยัดเม็ดพลาสติกที่สูญเสียไปกับระบบทางวิ่งและยังประหยัดค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน
ส่วนประกอบสำคัญของระบบ Hot runner
1. Manifold คือ ช่องทางการไหลของmaterial จากเครื่องฉีดไปสู่หัวฉีด (Nozzle) โดยจะมี Heater ให้ความร้อนที่ Manifold อยู่เสมอเพื่อที่จะไม่ให้ material แข็งตัว
2. Nozzle/Tip คือหัวฉีด หัวฉีดจะอยู่ระหว่าง Manifold กับ Cavity หน้าที่สำคัญที่หัวฉีดต้องมีก็ คือ
- การนำความร้อนไปยังทางเข้า (Gate) เพื่อให้ material ส่งผ่านด้วยอุณหภูมิคงที่ และ material ตรงทางเข้าไม่แข็งตัว
- คั่นความร้อนระหว่างแท่งทางวิ่งจ่าย และแม่พิมพ์ที่หล่อเย็น ความเย็นจากแม่พิมพ์จะต้องไม่ทำให้อุณหภูมิที่บริเวณทางเข้าลดลง
- แยกขั้วของทางเข้าที่เหลวออกจากส่วนที่แข็งตัวระหว่างการปลดชิ้นงานได้อย่างเรียบร้อย
3. Heater คือ อุปกรณ์ที่ติดกับ Manifold และ หัวฉีด (Nozzle) เพื่อทำความร้อนให้กับmaterial ได้อย่างสม่ำเสมอและทั่วแท่งฮีตเตอร์ สามารถกำหนดขนาดตามความต้องการได้ พลังงานความร้อนมีหน่วยเป็น จูล (Joul) หรือ บีทียู (Btu) ความร้อนที่เกิดจากตัวฮีตเตอร์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมนั้นเกือบทั้งหมด จะได้มาจากพลังงานไฟฟ้า
ฮีทเตอร์สร้างความร้อนออกมา จากระบบจ่ายไฟฟ้า 220 โวลท์ 1 เฟส หรือ ไฟฟ้า 380 โวลท์ 3 เฟส โดยจ่ายไฟฟ้า (โวลท์ Volt) เข้าไปยังลวดความต้านทาน ที่เป็นลวดโลหะความต้าน (Resistant Wire) ที่มีส่วนผสมของโลหะนิคเกิล (Ni) และโครเมี่ยม (Cr) บางคนเรียกความต้านทานว่าลวดความร้อน หรือ ลวดฮีตเตอร์ เมื่อจ่ายไฟฟ้าให้ลวดฮีตเตอร์ (Heater Wire) เส้นหนึ่งที่ปลายของลวดทั้ง 2 ข้าง ลวดจะร้อนแดงขึ้นและให้ความร้อนออกมาจากลวดทั้งเส้น
อ้างอิง: http://thaihotrunner.co.th/hot-runner-sysetm/
About The Author
You may also like
-
เทคโนโลยีและการออกแบบทางวิ่งร้อนช่วยประหยัดการใช้พลังงานได้อย่างไร
-
Hot Runner เพื่อความยั่งยืน รองรับพลาสติกรีไซเคิลและชีวภาพ จาก Oerlikon HRS Flow
-
‘HRS Cool Evo’ แม่พิมพ์ Hot Runner ระบายความร้อนผ่านวัสดุ แทนการใช้น้ำหล่อเย็น
-
PET/F สารชีวภาพที่ให้คาร์บอนฟุตพรินต์เป็นลบสำหรับการผลิตบรรจุภัณฑ์
-
โซลูชัน Hot Runner ขั้นสูง ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและยั่งยืน