ในกระบวนการผลิตจะแบ่งการทำงานออกเป็นแต่ละกระบวนการ มีการไหลของชิ้นงานผ่านสายพานไปยังสถานีต่าง ๆ เพื่อทำขั้นตอนตามลำดับ เวลา การโหลดและถอดชิ้นงานออกจากเครื่องจักรเป็นการเสียเวลาระหว่างการผลิตเป็นอย่างมากและทำให้รอบเวลายาวนานขึ้น
ในปัจจุบันจึงมีเครื่องจักรที่สามารถปฏิบัติการได้หลากหลายรูปแบบ เช่น กัด เจาะ กลึง ไส ได้ในเครื่องเดียว ทำให้ประหยัดเวลาในการถอดและใส่ชิ้นงาน ไม่ต้องเสียเวลาผ่านกระบวนการหลาย ๆ เครื่อง สามารถปฏิบัติการครบจบในเครื่องเดียว (All In One) การพัฒนาของเครื่องจักรอยู่ในระดับที่กระบวนการผลิตแบบตัดเฉือนและหักล้างสามารถอยู่ในเครื่องเดียวกันได้ ชิ้นงานที่มีความซับซ้อนสามารถที่จะผลิตผ่านกระบวนการโดยที่สลับกันไปมาอย่างอิสระตามความต้องการได้ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเครื่องจักรไปมา เนื่องจากการถอดและใส่ชิ้นงานบ่อย ๆ อาจมีความคลาดเคลื่อนจากการจัดวางที่ไม่ถูกต้องเกิดขึ้นทำให้ต้องมาปรับแก้กันใหม่ในภายหลัง
คลิปวิดีโอ กระบวนการตัดเฉือนแบบไฮบริด
บริษัทซอฟต์แวร์ Open Mind จะนำเสนอประโยชน์ของระบบ Hypermill CAD/CAM สำหรับผู้ใช้กระบวนการผลิตแบบเติมวัสดุในงานแสดงสินค้า Formnext ในวันที่ 7 – 10 พฤศจิกายน 2023 ที่จะถึงนี้
* CAD (Computer Aided Design) หรือ การออกแบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วย
* CAM (Computer Aided Manufacturing) หรือ การผลิตที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วย
ทีมงาน Open Mind พร้อมที่จะพบกับผู้เชี่ยวชาญด้านการพิมพ์ 3 มิติอื่น ๆ ในงาน Formnext (ที่มา: Open Mind)
Open Mind จะแสดงตัวอย่างชิ้นงานที่ผลิตแบบเติมวัสดุโดยใช้โปรแกรม Hypermill พร้อมทั้งอธิบายคอนเซ็ปต์ ‘Best Fit’ ซึ่งเป็นเทคนิคที่เป็นนวัตกรรมในการลดความยุ่งยากการจัดวางตำแหน่งชิ้นงานใหม่ด้วยตนเองก่อนการปรับแต่งรายละเอียดหลังการพิมพ์ โดยคอมพิวเตอร์จะตรวจจับตำแหน่งการวางแนวของชิ้นงาน และปรับรหัส NC ใหม่ตามจุดอ้างอิงของชิ้นงานจริง และแสดงผลเป็นวัตถุเสมือนในจอภาพ
ความยืดหยุ่นที่มากกว่า ผสานรวมการตัดเฉือนแบบ 5 แกน เข้ากับการผลิตแบบเติมวัสดุ
การผลิตแบบเติมวัสดุของ Hypermill ได้ผสานรวมการตัดเฉือน 5 แกนที่มีความซับซ้อนสูงไปพร้อม ๆ กับกระบวนการ Direct Energy Deposition (DED หรือ การให้พลังงานวัสดุโดยตรงเพื่อหลอมวัสดุให้เกาะตัวเป็นชิ้นงาน) และกระบวนการ Wire Arc Additive Manufacturing (WAAM หรือ กระบวนการผลิตแบบเติมวัสดุแบบหลอมละลายลวดเชื่อม)
รหัส NC สามารถเขียนโปรแกรมได้อย่างง่ายดาย และจำลองให้เห็นโดยอัตโนมัติเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกัน เนื่องจากเป็นโซลูชันซอฟต์แวร์แบบครบวงจรทำให้สามารถตัดเฉือนแบบไฮบริดได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งแบบหักล้างและแบบเติมวัสดุในเครื่องเดียวกัน
โครงสร้างรองรับและพื้นผิวที่พิมพ์ 3 มิติขึ้นทีละเลเยอร์ ทำให้การตัดเฉือนเพื่อตกแต่งชิ้นงานที่ผลิตแบบเติมวัสดุเป็นสิ่งจำเป็น การปรับแต่งรายละเอียดหลังการพิมพ์จำเป็นต้องมีการวางตำแหน่งในเครื่องจักร เดิมทีการจัดวางตำแหน่งแบบแมนนวลนั้นใช้เวลานานและเสี่ยงต่อความผิดพลาด ดังนั้น Open Mind จึงใช้ Best Fit ในการปรับรหัสให้ตรงกับตำแหน่งชิ้นงานจริงในบริเวณที่เครื่องจักรทำงานแล้วนำไปวัดและจำลองให้เป็นโมเดลเสมือนจริง (Digital Twin)
คลิปวิดีโอ การทำงานของ Hypermill Best Fit
เครื่องจักรรุ่นใหม่ ๆ ทำให้การทำงานมีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น แต่สิ่งที่ต้องคำนึงอีกประการหนึ่งเมื่อทำการผลิตทุกกระบวนการโดยใช้เครื่องจักรเดียว หากเครื่องนั้นเกิดเสียขึ้นมา ย่อมหมายถึง การต้องหยุดขั้นตอนการทำงานทั้งหมด หนทางในการแก้ไขนั้นอาจต้องมีเครื่องจักรหลายเครื่อง หรือมีกระบวนการที่เป็นตัวเลือกสามารถใช้ทดแทนกันได้ ขณะที่เครื่องไฮบริดนี้อยู่ในระหว่างการซ่อมแซม
บทความอ้างอิง: https://www.etmm-online.com/
บทความที่น่าสนใจ
- คอร์สอบรมออนไลน์และไฮบริด: สู่ความเป็นผู้เชี่ยวชาญ CAD/CAM
- กระบวนการผลิตแบบไฮบริดช่วยเพิ่ม ความสามารถในการแข่งขันได้อย่างไร?
- ขั้นตอนการเตรียมการสร้างแบบเติมวัสดุ ปรับปรุงการผลิตแบบไฮบริดให้มีประสิทธิภาพขึ้น
- ไฮบริดคลาวด์ขององค์กรสาธารณสุขและการแพทย์ คือ ความปลอดภัยและการทำตามกฎระเบียบ
About The Author
You may also like
-
‘CO2ptima’ โซลูชันดิจิทัลวัดคาร์บอนฟุตพรินต์จากการผลิตได้อย่างโปร่งใส
-
Seco ยืดอายุการใช้งานเครื่องมือได้ถึง 20 เท่า!! สำหรับตัดวัสดุเหล็กหล่อของ Scania
-
การเก็บข้อมูลและคำนวณการปล่อยคาร์บอน ช่วยปูทางสู่การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
-
Productive Machines เปิดตัวแอปคำนวณอัตราการป้อนโดยใช้ AI เพิ่มประสิทธิภาพการตัดเฉือน
-
Amaize ซอฟต์แวร์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI รองรับอุตสาหกรรมพลังงาน การบินอวกาศ