หุ่นยนต์ที่ทำงานแทนมนุษย์
(ที่มา: Siamsmartsolutions.com)
ตัวชี้วัดความสำเร็จ หรือ KPI (Key Performance Indicator) ที่ใช้กันเป็นประจำในการปรับปรุงกระบวนการผลิต คือ ต้นทุนต่อหน่วยที่ถูกลง รอบเวลาที่เร็วขึ้น ซึ่งสามารถลดต้นทุนและเวลาในกระบวนการทำงาน ทุกสิ่งต้องสามารถวัดค่าเป็นตัวเลขได้ คำนวณออกมาเป็นมูลค่าที่ประหยัดได้ต่อปี ในการลงทุนระบบอัตโนมัติก็เช่นเดียวกัน นอกจากการดูต้นทุนและรอบเวลาแล้ว ยังมีอีกหลาย KPI ให้เลือกใช้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ทางกลยุทธ์ของบริษัท
Dr. Norbert Niemeier ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของ Weissenberg Intelligence ที่ Weissenberg Group ตั้งแต่ปี 2021
(ที่มา: Weissenberg Group)
Dr. Norbert Niemeier กรรมการผู้จัดการของ Weissenberg Intelligence ที่ Weissenberg Group บริษัทที่ปรึกษาด้านการเปลี่ยนแปลงดิจิทัล วิศวกรรมซอฟต์แวร์ และบริการเพื่อการจัดการบริการด้านไอที ได้นำเสนอ KPI สำหรับระบบอัตโนมัติเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพดีที่สุด
อัตราผลตอบแทนการลงทุน หรือ ROI คือ สิ่งสำคัญของระบบอัตโนมัติ เป็นสิ่งที่ทำให้มั่นใจได้ว่าจะได้รับการสนับสนุนจากสายงานที่จำเป็นในการปรับขนาดระบบอัตโนมัติ สำหรับแต่ละกระบวนการอัตโนมัติ KPI หรือตัวชี้วัด เช่น จำนวนชั่วโมงที่ประหยัดได้ การลดต้นทุน และการปรับปรุงการส่งมอบบริการให้ดีขึ้นนั้น เป็นตัวกำหนดได้ชัดเจนว่าควรลำดับความสำคัญสิ่งใดก่อนหรือหลังเพื่อให้คุ้มค่าและเกิดประสิทธิผลสูงสุด
KPI หรือ ตัวชี้วัดที่ควรทราบ
นอกจาก KPI ที่เป็นชั่วโมงการทำงานและต้นทุนแล้ว ยังมี KPI อีกมากมายที่เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของระบบอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น เวลาเฉลี่ยตั้งแต่เกิดความเสียหายจนใช้งานได้แต่ละครั้ง (MTTR หรือ Mean Time To Repair) จำนวนเหตุการณ์หรือคำขอที่ผ่านระบบอัตโนมัติเท่านั้น หรือ เวลาที่ใช้ในการบริการ รวมถึงความพึงพอใจของลูกค้าและพนักงาน ดังนั้น ความสำคัญของ KPI ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ในการใช้ระบบอัตโนมัติ หากไม่มี KPI โครงการระบบอัตโนมัติต่าง ๆ ก็คงไร้ทิศทาง ดังนั้น KPI สำคัญที่บริษัทต่าง ๆ ควรทราบ ซึ่งเป็นการบ่งชี้ถึงปัญหาและสิ่งที่ควรปรับปรุงแตกต่างกันออกไป ดังนี้
จำนวนของกระบวนการอัตโนมัติ: ผลรวมของกระบวนการอัตโนมัติทั้งหมดเป็นตัวชี้วัดการปฏิบัติงานที่บ่งชี้ว่าโปรแกรม RPA (Robotic Process Automation) กำลังพัฒนาและเติบโตขึ้น ทำให้พนักงานที่มีทักษะและมีความเชี่ยวชาญจะได้รับโอกาสในการพัฒนามากขึ้น
บทความเกี่ยวกับ Robotic Process Automation (RPA) คืออะไร อยากสร้างหุ่นยนต์เริ่มต้นอย่างไรดี? (เครดิตข้อมูล: Jobsdb) ตามลิงก์ด้านล่าง
https://th.jobsdb.com/th/career-advice/article/robotic-process-automation
ความเร็วของกระบวนการอัตโนมัติ: ตัวชี้วัดเรื่องความเร็ว หมายถึง ระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการดำเนินการกระบวนการอัตโนมัติจนแล้วเสร็จ คิดตัวเลขออกมาเป็นเวลาและต้นทุนที่ประหยัดได้ อันเป็นผลมาจากการใช้บอททำงานได้เร็วกว่าพนักงาน
การใช้งานกระบวนการอัตโนมัติ: ปริมาณงานเป็นตัวให้ข้อมูลว่ากระบวนการอัตโนมัติปฏิบัติงานเมื่อใดและบ่อยแค่ไหน เป็นตัวชี้วัดว่าบอททำงานตลอดเวลาหรือไม่ นั่นหมายถึง ข้อดีอย่างหนึ่งของ RPA คือ ยิ่งบอททำงานนานเท่าใด ส่งผลให้สร้างมูลค่าได้มากขึ้นเท่านั้น
เวลาทำงานโดยเฉลี่ยของกระบวนการอัตโนมัติ: เป็นตัวบ่งชี้ว่าบอทพร้อมที่จะทำในสิ่งที่ได้รับการออกแบบมามากแค่ไหน ตัวชี้วัดนี้แตกต่างจากการใช้งานกระบวนการอัตโนมัติ เนื่องจากเป็นการวัดความสามารถของบอทในการสนับสนุนมูลค่าทางธุรกิจที่คาดหวังในเวลาใดก็ตาม
ความแม่นยำของกระบวนการอัตโนมัติ: ตัวชี้วัดว่ากระบวนการอัตโนมัติผิดพลาดบ่อยแค่ไหนเป็นตัวบ่งชี้ว่าระบบอัตโนมัติในปัจจุบันยังคงดำเนินการต่อไปหรือไม่ แสดงให้เห็นได้ถึงคุณภาพของกระบวนการว่าสามารถให้เอาต์พุตที่ดีขึ้นจนเกิดข้อผิดพลาดน้อยน้อยลงกว่าการทำงานด้วยมนุษย์หรือไม่
ระยะเวลาดำเนินการโดยเฉลี่ย: เป็นเวลาที่หุ่นยนต์ใช้ดำเนินการ 1 ครั้งเมื่อเทียบกับมนุษย์ แรงงานดิจิทัลทำงานได้เร็วกว่ามนุษย์ 3 – 5 เท่า ดังนั้น เวลาดำเนินการโดยเฉลี่ยของกระบวนการอัตโนมัติควรจะลดลงได้อย่างมากจากการใช้หุ่นยนต์
ความผันแปรของปริมาณ: หมายถึง ความแตกต่างระหว่างปริมาณที่คาดการณ์ไว้สำหรับการคำนวณ ROI และปริมาณจริงที่จัดการโดยบอท
รอบการส่งซ่อมของเครื่องจักร: หากกระบวนการอัตโนมัติหยุดทำงานและต้องซ่อมบำรุง การขัดข้องของบอทนั้น ไม่ว่าจะด้วยการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซม มีผลกระทบโดยตรงต่อ ROI เมื่อบอทไม่มีผลิตภาพเพราะไม่ได้ทำงาน ตัวชี้วัดกระบวนการอัตโนมัติจึงเป็นระยะเวลาที่มนุษย์ต้องเข้ามาซ่อมบำรุงแก้ไขบอทที่เสียไป
คำร้องเรียนในการแก้ปัญหา: ในแต่ละครั้งที่บอทขัดข้อง จะเกิดคำร้องในการแก้ปัญหา ยิ่งได้รับคำร้องมากขึ้นเท่าใดยิ่งทำให้ตัวชี้วัดในเรื่องเทคโนโลยี ฐานข้อมูลที่เก็บไว้ หรือการตั้งค่าโปรแกรมของบอท มีประสิทธิภาพและมีความเหมาะสมน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
สาเหตุของความล้มเหลว: ตัวชี้วัดนี้ช่วยให้บริษัทได้เห็นภาพรวมว่าทำไมบอทจึงล้มเหลวตั้งแต่แรก เป็นการชี้ให้เห็นถึงโอกาสที่จะหาแนวทางป้องกันกระบวนการอัตโนมัติเพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด
ความสามารถในการปรับขนาดของระบบอัตโนมัติ: ต้นทุนและเวลาที่ต้องใช้สำหรับการเพิ่มบอทใหม่เพื่อให้งานเสร็จเรียบร้อยสมบูรณ์ต้องนำมาเปรียบเทียบกับต้นทุน ตลอดจนเวลาที่ต้องใช้ในการจ้างและฝึกอบรมพนักงานใหม่ รวมถึงต้นทุนค่าแรงด้วยเช่นกัน
ความสามารถในการปรับขนาดการพัฒนาโปรแกรม: เป็นการบันทึกโค้ดของระบบอัตโนมัติที่มีอยู่แล้วนำไปใช้ซ้ำกับระบบอัตโนมัติใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วการเพิ่มบอทใหม่ง่ายกว่าและใช้เวลาน้อยกว่า
มูลค่าที่คาดหวังทางธุรกิจ: ตัวชี้วัดมูลค่าที่คาดหวังทางธุรกิจจะรวมกับ KPI ตัวอื่น ๆ ทั้งหมดเข้าด้วยกัน คือ ผลรวมของการประหยัดต้นทุนทั้งหมดที่เป็นผลมาจากความเร็วที่เพิ่มขึ้น การใช้งาน และความถูกต้องแม่นยำที่มากขึ้น คูณกับต้นทุนของ FTE (Full Time Equivalent หรือ ชั่วโมงการทํางานของพนักงานเต็มเวลาในช่วงเวลาหนึ่ง)
จำนวนตัวชี้วัดที่มากกว่าไม่ได้แปลว่าดีกว่าเสมอไป
ช่วงของตัวชี้วัดอาจมีหลากหลายแตกต่างกันไป และยังแสดงให้เห็นถึงกลยุทธ์การทำงานที่แตกต่างกันขององค์กร การลำดับความสำคัญจะเป็นตัวบอกวิธีการที่องค์กรใช้ในการออกแบบระบบอัตโนมัติและให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพ และ/หรือ ความเร็วของบอทที่สามารถปฏิบัติได้ตามเป้าหมาย โดยทั่วไปแล้วการติดตาม KPI ที่มากเกินไปก็อาจไม่เป็นประโยชน์มากนัก อาจใช้แค่เก็บข้อมูลแค่ช่วงเวลาหนึ่ง และเป็นตัวสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น ตัวชี้วัด KPI จึงควรสอดคล้องและสนับสนุนเป้าหมายโดยรวมขององค์กร
บทความอ้างอิง: https://www.etmm-online.com/
บทความที่น่าสนใจ
- WTO x HAINBUCH เปิดตัวโรงงานอัจฉริยะอัตโนมัติเต็มรูปแบบผลิตงานได้ 24 ชม.
- ผลิตจักรยานแบบหมุนเวียน ด้วยวัสดุคาร์บอนโพลิเมอร์ชีวภาพที่รีไซเคิลได้ 100%
- ระบบอัตโนมัติและโซลูชั่นล่าสุดสำหรับกระบวนการตัดเฉือนที่มีประสิทธิภาพ
- เมื่อ “การแก้ปัญหา” ของลูกค้าแต่ละรายกลายเป็นมาตรฐานในการผลิต
About The Author
You may also like
-
Pressmate ซอฟต์แวร์จำลองการเสียรูปของแม่พิมพ์ปั๊มกด ช่วยลดต้นทุนและเวลาได้ถึง 40%
-
ระบบค้นหาตำแหน่งแม่พิมพ์ภายในอาคารจาก HASCO
-
E-Z Lok เปิดตัวคลังแค็ตตาล็อกแบบจำลอง CAD ออนไลน์
-
RJG เปิดตัว ‘MAX’ ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อยกระดับการควบคุมกระบวนการฉีดขึ้นรูป
-
ซอฟต์แวร์ Vericut Force ช่วยทีม Mercedes-AMG F1 ลดเวลาการผลิตลงได้ถึง 25%