เริ่มต้นการผลิตแบบอัตโนมัติ ต้องทำอย่างไร?

เริ่มต้นการผลิตแบบอัตโนมัติ ต้องทำอย่างไร?

เป็นที่ทราบกันดีว่าระบบอัตโนมัติให้ประสิทธิภาพการผลิตที่สูงกว่า คุณภาพที่ดีกว่า มีความสม่ำเสมอมากกว่าการใช้แรงงานคน นอกจากนี้ยังเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ และยังมีมิติของการรักษาความสามารถในการแข่งขัน หากคู่แข่งเริ่มทยอยใช้ระบบอัตโนมัติซึ่งให้คุณภาพที่สูงกว่า แล้วโรงงานผลิตไม่ปรับตัวตาม ย่อมไม่สามารถแข่งขันได้ ด้วยต้นทุนและระดับคุณภาพที่จำเป็นต้องแข่งขันได้ อย่างไรก็ตามแม้จะทราบถึงประโยชน์ แต่การจะลองเปลี่ยนแปลงไปเป็นระบบอัตโนมัตินั้นควรมีขั้นตอนและต้องคำนึงสิ่งใดบ้าง ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องของการซื้อเครื่องจักรพร้อมระบบมาแล้วจบ แต่ควรเริ่มตั้งแต่การตรวจสอบเวิร์คโฟลว์ที่มี การทำแผนลงมือปฏิบัติที่มีความแข็งแกร่ง มีหลักไมล์ว่าสิ่งต่าง ๆ ต้องสำเร็จแค่ไหน เมื่อใด ต้องมีการทำโครงการนำร่องเพื่อรวบรวมและเก็บข้อมูล นำมาวิเคราะห์เพื่อปรับก่อนที่จะขยายสเกลเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการฝึกอบรมพนักงาน เรื่องละเอียดอ่อนอย่างทัศนคติของพนักงานต่อระบบอัตโนมัติ แรงต้านจากการที่พนักงานมองว่าระบบอัตโนมัติจะมาทดแทนพวกเขา นี่คือสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเพื่อให้การเปลี่ยนไปใช้ระบบอัตโนมัติมีความราบรื่น สามารถสร้างประโยชน์และผลกำไรสำหรับผู้ผลิตได้จริง

การผลิตแบบอัตโนมัติยังคงพิสูจน์ว่ามีประโยชน์สำหรับบริษัทที่กำลังฝ่าฟันความท้าทายรอบ ๆ ซัพพลายเชนในรูปแบบต่าง ๆ ตามความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกัน มาตรฐานการคุ้มครองผู้บริโภค และการขาดแคลนทรัพยากรการผลิต ช่วยทำให้การผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น ต้นทุนต่ำลง ผลิตของเสียน้อยลง และช่วยในเรื่องของความยั่งยืน 

With the right plan, metal manufacturers can effectively transition from manual to automated manufacturing at a reasonable cost.

ผู้ผลิตโลหะสามารถเปลี่ยนการผลิตแบบแมนนวลไปเป็นแบบอัตโนมัติได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยราคาที่สมเหตุผล

(ที่มา: ลิขสิทธิ์ฟรี / Pixabay)

การบูรณาการรวมโซลูชันการผลิตอัจฉริยะและระบบอัตโนมัติอุตสาหกรรมเข้าด้วยกัน ช่วยให้ผู้ผลิตโลหะมีโอกาสที่ดีกว่าและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สิ่งที่ต้องเริ่มการใช้และดูแลรักษาระบบการผลิตอัตโนมัติคืออะไร? เป็นสิ่งที่ควรทราบเมื่อเปลี่ยนไปใช้การผลิตแบบอัตโนมัติ

1. ตรวจสอบเวิร์คโฟลว์การผลิต

งานโลหะเกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงานหลาย ๆ ภาคส่วน เช่น การทำงานที่มีการทำซ้ำ ๆ ซึ่งใช้เวลานานและสิ้นเปลืองทรัพยากรมาก การเปลี่ยนมาใช้ระบบอัตโนมัติจึงเป็นการช่วยยกระดับประสิทธิภาพการผลิต อีกทั้งเพิ่มความสามารถการทำกำไรในระยะยาว

ขั้นตอนแรกที่จะก้าวสู่การผลิตแบบอัตโนมัติ เริ่มจากการตรวจสอบเพื่อระบุข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเวิร์คโฟลว์ที่มีอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบบแมนนวล จึงง่ายต่อการพัฒนาแผนงานสำหรับการผลิตแบบอัตโนมัติ ตลอดจนสามารถประมาณการความต้องการของทรัพยากรและเทคโนโลยีอัตโนมัติได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น

การตรวจสอบก็มีความสำคัญสำหรับการประเมินความปลอดภัยและการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามข้อกำหนดที่เกี่ยวกับโซลูชันระบบอัตโนมัติ เมื่อตรวจสอบเวิร์คโฟลว์และความต้องการทรัพยากรแล้ว ควรจัดทำรายการตรวจสอบที่เป็นมาตรฐานไว้เพื่อง่ายต่อการจัดเก็บเอกสารและการติดตามผล 

การที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด (Stakeholders) นั้นให้พนักงานมีส่วนร่วมและได้เห็นมุมมองที่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นพนักงานในสายการผลิต หัวหน้างานด้านความปลอดภัย พนักงานซ่อมบำรุง และฝ่ายบริหาร เป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่พนักงานสำหรับการเปลี่ยนแปลงเวิร์คโฟลว์ ทำให้การเปลี่ยนแปลงจากระบบแมนนวลไปเป็นระบบดิจิทัลเป็นไปอย่างราบรื่น

2. การพัฒนาแผนการใช้งานระบบอัตโนมัติ

บริษัทต่าง ๆ จำเป็นต้องมีแผนการผลิตระบบอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพ เพื่อกำหนดความสำคัญในการจัดการโครงการ สิ่งใดบ้างที่ต้องทำให้สำเร็จ และภายในเมื่อไร งบประมาณที่ให้ได้ และการตัดสินใจเลือกเมื่อมีการประเมินผลการปฏิบัติการเทคโนโลยีอัตโนมัติต่าง ๆ รวมถึงสิ่งที่บ่งชี้ประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น บริษัทควรพัฒนาเมทริกซ์สำหรับเลือกเทคโนโลยีการผลิตที่แตกต่างกัน ควรเลือกใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมหรือเครื่องจักร NC เป็นอันดับแรก ควรระบุบุคคลที่จะเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง และแผนการดำเนินงานควรมีการร่างข้อกำหนดการเสริมในช่วงเวลาที่กำหนดเพื่อลดการหยุดชะงักของตารางการผลิต

 (Source: Limble)
 (Source: Limble)

แผนการดำเนินงานแบ่งตามเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ออกเป็นโครงการขนาดเล็กที่สามารถจัดการได้ เพื่อลดส่วนต่างของความผิดพลาด (Margin of Error) และทำให้การปรับใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติต่าง ๆ ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้บริษัทผู้ผลิตโลหะต่าง ๆ ปรับใช้การผลิตแบบอัตโนมัติโดยที่ใช้งบประมาณไม่มากเกินไป เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับเวิร์คโฟลว์และลำดับความสำคัญในการผลิต

โครงร่างของแผนอาจมีการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ในการบำรุงรักษา บริษัทผู้ผลิตโลหะจะมุ่งเน้นไปที่การบำรุงรักษาอุตสาหกรรมที่เป็นอัตโนมัติ มากขึ้น มีการกำหนดฝ่ายสนับสนุนระบบอัตโนมัติเพื่อดูแลการเปลี่ยนแปลงไปสู่การผลิตที่เป็นอัตโนมัติและคอยสนับสนุนด้านเทคนิคให้กับทีมการผลิตด้วย 

3. การดำเนินการโครงการนำร่อง

โครงการนำร่องช่วยให้ผู้ผลิตโลหะสามารถดำเนินงานโดยอัตโนมัติเพื่อทดสอบประสิทธิภาพโซลูชันเทคโนโลยีในการผลิต ง่ายต่อการเก็บรวมรวมข้อมูล เป็น Learning Curve ที่ผู้ผลิตสามารถใช้เพื่อตรวจสอบความถูกต้องแนวคิดระบบอัตโนมัติ และยังระบุข้อจำกัดในการใช้งานได้อีกด้วย

การเปลี่ยนสู่การผลิตแบบอัตโนมัติ จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงเวิร์คโฟลว์ที่ทำอยู่เป็นประจำ บริษัทผู้ผลิตโลหะอาจต้องเผชิญกับความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อกำไรของพวกเขา โครงการนำร่องทำให้พวกเขาสามารถทดสอบและประเมินโซลูชันนวัตกรรมในสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมได้ ซึ่งมีประโยชน์ในการระบุและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นก่อนที่บริษัทจะขยายการดำเนินงานขึ้น โครงการนำร่องเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตโลหะได้ประมาณการผลตอบแทนจากการลงทุน และประเมินการประหยัดต้นทุนได้ 

ผู้ผลิตสามารถใช้ขั้นตอนนี้ในการฝึกอบรมและให้พนักงานทำความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีการผลิตได้ก่อน เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับทุกคนในบริษัทกับการผลิตอัตโนมัติมาใช้งานอย่างเต็มรูปแบบ

4. การวิเคราะห์และพัฒนาโครงการระบบอัตโนมัติ

เมื่อผู้ผลิตโลหะได้เริ่มต้นโครงการนำร่อง ควรเก็บรวบรวมข้อมูลให้เพียงพอและตรวจสอบเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับความต้องการในการพัฒนาเวิร์คโฟลว์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอยู่เป็นประจำ

เทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติส่วนใหญ่มีการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาโปรแกรมและการปรับขนาดของเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ 

การวิเคราะห์ข้อมูลกระบวนการผลิตช่วยให้ผู้ผลิตได้รับข้อมูลเชิงลึกที่จำเป็นในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและเพิ่มผลผลิตของระบบอัตโนมัติ เมื่อเทคโนโลยีอัตโนมัติในโรงงานขยับขยายมากขึ้นก็จะได้รับข้อมูลมากขึ้น จะทำให้เห็นถึงข้อผิดพลาดมากขึ้น จึงต้องตรวจสอบคุณภาพเทคโนโลยีอัตโนมัติแบบเรียลไทม์

ผู้ผลิตโลหะต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบการผลิต นอกจากนี้ยังสามารถรวมข้อมูลเข้าไปในโปรแกรมการบำรุงรักษาเพื่อคาดการณ์ความต้องการในการบำรุงรักษา ทำให้ผู้ผลิตโลหะสามารถใช้โปรแกรมบำรุงรักษาเชิงรุกที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเพื่อลดต้นทุนการดำเนินงานและเพิ่มความพร้อมในการใช้งานของทรัพยาการในการผลิต

5. การฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง

การผลิตแบบอัตโนมัติเป็นโซลูชันในการแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ พนักงานบางคนคิดว่าเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติจะเข้ามาแทนที่พวกเขา แต่ทว่าเทคโนโลยีระบบอัตโนมัตินั้นก็เป็นสิ่งที่เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพของพวกเขาด้วย

ผู้ผลิตควรสนับสนุนการฝึกอบรมพนักงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับความรู้ทางเทคนิคและช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่การผลิต การฝึกอบรมช่วยให้พนักงานเข้าใจในวิธีการทำงานของระบบการผลิตอัตโนมัติ ความเสี่ยงและความปลอดภัยที่เกี่ยวกับระบบระบบอัตโนมัติ มาตรฐานการดูแลทรัพยากร และกระบวนการบันทึกข้อมูล เป็นต้น

นอกจากนี้ การสนับสนุนให้มีการฝึกอบรมพนักงานอย่างต่อเนื่อง ช่วยลดการต่อต้านต่อการเปลี่ยนแปลงที่พนักงานมองว่าเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติจะมาแทนที่มนุษย์ โปรแกรมฝึกอบรมควรประเมินความต้องการด้านทักษะที่จำเป็นและปรับให้เหมาะกับพนักงานฝ่ายผลิตแต่ละแผนก 

ผู้ผลิตควรหาวิธีการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎี การจำลองเหตุการณ์ และการฝึกปฏิบัติงานไปพร้อมทำงานจริง เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าพนักงานได้รับทักษะเพียงพอที่จะปฏิบัติการ แก้ปัญหา และบำรุงรักษาระบบการผลิตแบบอัตโนมัติแล้ว

การเปลี่ยนมาเป็นการผลิตแบบอัตโนมัติอาจดูซับซ้อนและมีราคาแพง แต่ถึงอย่างไร ด้วยแผนการผลิตที่ถูกต้องทำให้ผู้ผลิตโลหะสามารถเปลี่ยนจากระบบแมนนวลมาเป็นระบบอัตโนมัติได้ด้วยราคาที่สมเหตุสมผล และสามารถใช้โซลูชันระบบการผลิตอัตโนมัติเพื่อจัดการปัญหาช่องว่างด้านประสิทธิภาพในโรงงานได้

ผู้ผลิตโลหะสามารถสร้างผลกำไรและรักษาความสามารถในการแข่งขันด้วยการใช้ประสิทธิภาพจากเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติเหล่านี้ รวมถึงการนำข้อมูลกระบวนการผลิตที่ได้มาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ถึงกระนั้นก็ยังคงต้องคอยตรวจสอบเทรนด์การผลิตแบบอัตโนมัติเพื่อหาโซลูชันที่ยกระดับการดำเนินงานด้านโลหะอยู่เสมอ  

การเปลี่ยนผ่านจากระบบแมนนวลมาสู่ระบบอัตโนมัติสามารถทำได้อย่างราบรื่นและให้ผลที่ดีกว่าในระยะยาวสำหรับผู้ผลิต ทั้งได้ประสิทธิภาพในการผลิตที่ดีขึ้น ต้นทุนต่ำลง ผลิตได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น ใช้ทรัพยากรน้อยลง รวมถึงแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะด้วย

บทความอ้างอิง: https://www.etmm-online.com/

บทความที่น่าสนใจ

About The Author