ยางรถยนต์และขยะอินทรีย์ ใช้ทดแทนวัตถุดิบฟอสซิล ในการผลิตพลาสติกใหม่

กระแสเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียนและความยั่งยืน ภาวะโลกร้อน การลดการปล่อยคาร์บอน การต่อสู้กับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เป็นสิ่งที่เราได้ยินเป็นบ่อย ๆ ในทุกวันนี้ เป็นหลักเกณฑ์ที่บริษัทต้องพิจารณาและพยายามปฏิบัติให้สอดคล้อง บริษัทต่าง ๆ จึงมีความพยายามมากขึ้นในการสร้างความยั่งยืนมากขึ้น โดยการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ความพยายามในการใช้พลังงานหมุนเวียน รวมถึงการหมุนเวียนผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้ว และของเสียให้นำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อไม่ให้วัสดุใช้แล้ว ถูกทิ้งให้เป็นขยะที่สร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อมเร็วเกินไป

ปัญหาเรื่องความยั่งยืนไม่ใช่ปัญหาเฉพาะของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ในการทำให้เกิดผลจริง จำเป็นต้องมีความร่วมมือกันระหว่างหลายบริษัทในห่วงโซ่อุปทานในการพัฒนาวัสดุทดแทนที่เจ้าของผลิตภัณฑ์ให้การยอมรับในการนำวัสดุนั้นไปใช้กับผลิตภัณฑ์ของตน ความร่วมมือตั้งแต่ต้นน้ำไปยังปลายน้ำ ตั้งแต่บริษัทผลิตวัสดุ ไปจนถึงเจ้าของสินค้าที่จะนำวัสดุนั้นไปใช้

พันธมิตร 4 บริษัท BASF, Mercedes-Benz, Pyrum Innovations และ Witte Automotive ประสบความสำเร็จร่วมกันในการใช้น้ำมันไพโรไลซิสจากยางรถยนต์ใช้แล้ว และก๊าซไบโอมีเธนจากขยะอินทรีย์ เพื่อทดแทนวัตถุดิบฟอสซิลในการผลิตพลาสติกที่มีคุณสมบัติบริสุทธิ์ (Virgin) ตามกระบวนการที่มีสมดุลมวล (Mass balance process)

สมดุลมวล หมายถึง การผลิตที่ป้อนสัดส่วนของมวลวัตถุดิบเข้าระบบ โดยมวลสารที่ออกจากระบบ = มวลสารที่ป้อนเข้าสู่ระบบ โดยที่สภาวะคงตัว จะไม่มีมวลสารสะสมในระบบ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกมาจะมีสัดส่วนของวัตถุดิบตามที่คำนวณไว้

พันธมิตรโครงการได้รับการยอมรับในโซลูชันที่พัฒนาร่วมกัน เป็นผู้ชนะรางวัล Materialica Design + Technology Awards ปี 2022 ในหมวดวัสดุ ที่เมืองเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2022 ในรูปถ่ายจากซ้ายไปขวา: Georg Stalter (Witte Automotive), Oliver Geiger (BASF), Eleni Kougioumtzi (Mercedes-Benz) und Simon Hoebel (Mercedes-Benz) (ที่มา: BASF)

ในงานมหกรรมพลาสติกและยางนานาชาติ K 2022 ในวันที่ 19 ต.ค. BASF, Mercedes-Benz, Pyrum Innovations และ Witte Automotive จะนำเสนอผลลัพธ์ของความเป็นหุ้นส่วนในการร่วมพัฒนา เพื่อผลิตพลาสติกที่จับโค้งสำหรับรุ่นรถ Mercedes-Benz ที่ได้รับการคัดเลือก, BASF ได้ผสานวัตถุดิบทางเลือกด้วยวิธีการสมดุลมวล: น้ำมันไพโรไลซิสที่ผลิตขึ้นที่ Pyrum Innovations AG จากยางรถยนต์ทิ้งและก๊าซไบโอมีเธนจากขยะทางการเกษตรและของเหลือจากอุตสาหกรรมอาหาร ผลลัพธ์ คือ โพลีอะไมด์ อัลตร้ามิด 6 ที่เสริมใยแก้ว 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีคุณสมบัติเดียวกับพลาสติกคุณภาพดี ทำให้เป็นวัสดุที่เหมาะสำหรับส่วนประกอบพาหนะที่มีความต้องการสูง

ตามแนวทางของเศรษฐกิจหมุนเวียนที่มีประสิทธิภาพ ผลิตภัณฑ์สมดุลมวล จะใช้เป็นที่จับประตูโค้งของ Mercedes-Benz S-Class และ EQE ในปีนี้ “โซลูชันแบบนี้ช่วยให้ลูกค้าของเราถึงซึ่งเป้าหมายความยั่งยืน” Dr. Martin Jung ประธานฝ่ายวัสดุสมรรถนะ บริษัท BASF อธิบาย “นี่คือแนวทาง Go! Create: เราเชื้อเชิญลูกค้าและพันธมิตรทั้งหมดของเราเพื่อมาร่วมกันกำหนดเส้นทางไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนด้วยพลาสติก เราได้แสดงให้ดูเป็นแบบอย่างด้วยที่จับโค้งสำหรับประตู Mercedes-Benz”

การรับรองจาก Redcert2 ที่ตรวจสอบปริมาณของน้ำมันไพโรไลซิสและไบโอมีเธนที่ใช้ทดแทนวัตถุดิบฟอสซิลสำหรับผลิตภัณฑ์ปลายทาง วัสดุที่ได้รับการรับรองเหล่านี้ถูกป้อนเข้าไปในเครือข่ายการผลิตของ BASF และถูกมอบหมายสู่พลาสติกด้วยวิธีคำนวณผ่านแนวทางสมดุลมวล จากนั้นส่งมอบให้กับ Witte Automotive ที่เป็นลูกค้าของ BASF การผลิตที่จับประตูโค้งที่ซัพพลายเออร์ยานยนต์ถูกตรวจสอบจากภายนอกในแนวทางเดียวกันตามมาตรฐาน Redcert2

นอกจากนี้ แนวทางโซลูชันที่พัฒนาร่วมกันนี้จะเปลี่ยนไปเป็นตัวรองรับการแรงกระแทกสำหรับ Mercedes-Benz S-Class ตัวรองรับการแรงกระแทกหรือการชนจะช่วยลดแรงเท่า ๆ  กันในการชนกับรถคันอื่นสำหรับการชนด้านหน้า สารประกอบพลาสติกที่มีสมดุลมวลทำจากน้ำมันไพโรไลซิสและไบโอมีเธนจาก BASF ผ่านข้อกำหนดคุณภาพสูงของ Mercedes-Benz โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของความปลอดภัยในการชน 

การปรับปรุงการผลิต การใช้และรีไซเคิลพลาสติก ทำให้บริษัทต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าใกล้เป้าหมายความยั่งยืนไปอีกขั้น พันธมิตรของโครงการได้รับการยอมรับให้เป็นผู้ชนะรางวัล Materialica Design + Technology Awards ในหมวดวัสดุ ปี 2022 ที่เมืองเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2022 คณะกรรมการได้เน้นที่แนวทางของความร่วมมือตลอดห่วงโซ่คุณค่าว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการแก้ไขปัญหาความยั่งยืน

อ้างอิง : https://www.etmm-online.com/

บทความอื่นๆ

About The Author