Volkswagen มั่นใจผลักดันผลิตยานยนต์ไฟฟ้าสำหรับทุกคน

Volkswagen กำลังเปลี่ยนโรงงานใน Zwickau/Mosel โดยเป็นโรงงานแห่งแรกที่ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ เป็นจำนวนมาก แล้วผู้ผลิต OEM รายอื่นที่ผลิตรุ่นที่มีเครื่องยนต์สันดาปและเครื่องยนต์ไฟฟ้าในไลน์เดียวกัน พวกเค้าใช้กลยุทธ์อะไร

Volkswagen เปลี่ยนแปลงโรงงงาน Zwickau/Mosel ให้ผลิตแต่ยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเดียว ด้วยความมั่นใจว่าจะสามารถผลิตและขายยานยนต์ไฟฟ้าได้ในจำนวนมาก (ที่มา: Audi)

Volkswagen ตั้งเป้าเป็นยานยนต์ไฟฟ้าสำหรับทุกคน

ในขณะที่อุตสาหกรรมรถถยนต์ในประเทศไทย ปรับตัวช้า และยังไม่ชัดเจนว่าจะไปในทิศทางใดเพื่อแข่งขันในตลาดยานยนต์ไฟฟ้า ทางฟากยุโรปค่ายรถยนต์ Volkswagen มีความพร้อมมาเป็นเวลาหลายปี โดยให้โรงงาน Zwickau/Mosel เป็นโรงงานที่ผลิตแต่เฉพาะยานยนต์ไฟฟ้า ภายใต้ยี่ห้อต่างๆ ของบริษัท ผลิตในปริมาณมาก เพื่อเป็น ยานยนต์ไฟฟ้าสำหรับทุกคน โดยบริษัทมีความมั่นใจเป็นอย่างมากกว่าจะสามารถผลิตเพื่อขายได้ในปริมาณมาก โดยผลิต 6 โมเดล ภายใต้ยี่ห้อ Volkswagen, Audi และ Seat โดยคาดหวังว่าจะผลิต 330,000 คันต่อปี

แพลตฟอร์ม MEB (ส่วน Chassis) ที่ปรับเป็นรถได้หลายรุ่น

Volkswagen ใช้แพลตฟอร์ม MEB (Modular electric drive system – “ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าแบบมอดูล่าร์”) ซึ่งสามารถแปลงให้เป็นรถหลายรุ่น หลายขนาดได้ (ระบบ modular หมายถึง ระบบที่สามารถแยกเป็นหน่วยหรือประกอบรวมกันได้ เหมือนการต่อบล๊อก ระบบ MEB เป็นส่วน Chassis ของรถ ซึ่งใส่แบตเตอรี่ตรงพื้นด้านล่าง ในกรณีรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหญ่ ระยะทางไกล สามารถเพิ่มจำนวนแบตเตอรี่ในช่องใส่แบตเตอรี่ได้ การใช้ระบบ MEB เหมือนกันในรถรุ่นต่างๆ ช่วยทำให้ Volkswagen สามารถผลิตจำนวนมาก และได้ประโยชน์จาก Economy of scale ซึ่งช่วยดึงต้นทุนให้ต่ำลง ให้ราคาเข้าถึงได้สำหรับทุกคน)

การแชร์สายการผลิตกับเครื่องยนต์สันดาป สำหรับรถพรีเมี่ยมที่ผลิตจำนวนไม่มาก

จากบทความข้างต้น Volkswagen ดำเนินการเต็มสูบสำหรับการผลิต mass ในตระกูล ID เพื่อผลิตจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับแบรนด์พรีเมี่ยมอย่าง Porche ที่มีจำนวนผลิตไม่สูง การผลิตโดยแชร์กันกับสายการผลิตเครื่องยนต์สันดาปภายในยังเป็นตัวเลือกที่สมเหตุสมผลกว่า อย่างไรก็ตาม Porche ก็คาดหวังให้ยอดขายมากกว่าครึ่งเป็นยานยนต์ไฟฟ้า ค่ายรถยนต์อื่นอย่าง BMW และ Daimler ยังคงใช้วิธีการผลิตแบบยืดหยุ่นเช่นกัน โดยแชร์สายการผลิตระหว่างยานยนต์ไฟฟ้า และเครื่องยนต์สันดาป ใช้วิธี Line Balancing เพื่อให้สายการผลิตเดียวกันสามารถสับเปลี่ยนไปผลิตรถยนต์ในเทคโนโลยีที่ต่างกัน ในลำดับใดก็ได้ “ปัจจัยชี้ขาดสำหรับเราคือ การใช้กำลังการผลิตในโรงงานของเรา เพราะเราไม่รู้แน่ชัดว่าความต้องการสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าจะมีพัฒนาการอย่างไร” Oliver Zipse คณะกรรมการบริหารการผลิตที่ BMW Group “นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมตอนนี้เราต้องการที่จะออกแบบระบบการผลิตของเราในลักษณะที่สามารถผลิตรถยนต์ที่ ขับเคลื่อนไฟฟ้าโดยสมบูรณ์ ไฮบริด และขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์สันดาปภายใน ได้ในโครงสร้างเดียว ซึ่งผลคือ ความยืดหยุ่นที่สูงและหลีกเลี่ยงการลงทุนซ้ำซ้อน” โจทย์หลังจากนี้คือ ทำอย่างไร ให้สามารถผลิตรถรุ่นใดก็ได้ ในลำดับใดก็ได้ โดยที่ไม่สูญเสียประสิทธิภาพไป นี้ใช้หลักการ Balancing และเรายังใช้ AI เข้ามาช่วยอีกด้วย



การผลิตด้วย Carbon Neutrality  (การปลดปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์)

รถตระกูล ID ที่ผลิตในโรงงาน Zwickau จะ “มีความเป็นกลางในการปล่อย CO2 ทั้งห่วงโซ่อุปทานและการผลิต” โดยใช้แหล่งพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน 100% ตั้งแต่ปี 2017 และใช้ block-type thermal power station (BTTP) ซึ่งเก็บพลังงานความร้อนในกระบวนการกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ อย่างไรก็ตามโรงงานยังมีการปล่อยคาร์บอนบางส่วน ซึ่งโรงงานชดเชยด้วยการทำโครงการสภาพแวดล้อมได้ผ่านมาตรฐานรับรองเพื่อให้ได้เครดิตชดเชยนำมาหักล้างการปล่อยคาร์บอนที่ยังมีอยู่โรงงานที่ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ๆ ยังมีการเพิ่มระบบอัตโนมัติขึ้นเกือบ 3 เท่า ทั้งยังใช้ระบบการขนส่งที่ไม่ใช้คนขับ ซึ่งช่วยเพิ่มผลิตภาพได้ถึง 20%

สำหรับส่วนของการผลิตแบตเตอรี่ ซึ่งใช้พลังงานสูง ซึ่งสั่งจากประเทศโปแลนด์และฮังการี ทางโรงงานมีการวางเงื่อนไขที่เข้มงวดในการจัดหาแหล่งวัตถุดิบ และข้อกำหนดที่ต้องใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน 100% ด้วย (แนวโน้มนี้ค่อนข้างเด่นชัดขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับการคิดคำนวณคาร์บอนจากทั้งห่วงโซ่การผลิต สามารถชี้แจ้งที่มาที่ไปได้อย่างชัดเจน)

การฝึกอบรมพนักงาน และการสร้างทัศนคติที่ถูกต้อง

โรงงานมีการจัดฝึกอบรมความรู้ในยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้พนักงานมีความพร้อมสำหรับการผลิต อย่างไรก็ตามนอกจากความรู้ดังกล่าว ทัศนคติ และมุมมองที่พนักงานมีต่อยานยนต์ไฟฟ้าเอง ก็มีความสำคัญต่อผลงานที่จะผลิตออกมาเช่นกัน ถ้าพนักงานมีความเชื่ออย่างแท้จริงว่า ยานยนต์ไฟฟ้ามีสมรรถนะที่ยอดเยี่ยม มีความชื่นชอบและกระตือรือร้นในยานยนต์ไฟฟ้า การผลิตและส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีย่อมตามมา เพื่อให้สิ่งนี้เกิดขึ้น ในส่วนหนึ่งของการฝึกอบรม บริษัทจึงได้จัดให้พนักงานได้มี “ประสบการณ์การขับขี่รถยนต์ไฟฟ้า”ด้วยตนเองอีกด้วย

Volkswagen ยังมีแผนที่จะขยายการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าไปยังโรงงานภูมิภาคอื่นๆ อย่างประเทศจีน อเมริกาเหนือ โดยเป้าหมายคือ การส่งมอบการขับเคลื่อนไฟฟ้าที่มีการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ผลิตแบบ Mass ทั่วโลก เข้าถึงได้สำหรับทุกคน

การขยับในครั้งนี้ของ Volkswagen เปรียบเหมือนการรีแบรนด์ครั้งใหญ่ จากเมื่อครั้งข่าวฉาวเรื่องการโกงผลทดสอบการปล่อยไอเสียที่เกิดขึ้นในปี 2015 ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งวันนี้บริษัทกลับมาอีกครั้งเพื่อเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการผลักดันยานยนต์ไฟฟ้าให้แพร่หลาย

คุณผู้อ่านสามารถรับชมคลิปวีดีโอ ประวัติความเป็นมาตั้งแต่เริ่มต้น ผ่านเหตุการณ์ข่าวฉาวในปี 2005 และทิศทางที่นำมาสู่สิ่งที่บริษัทกำลังมุ่งหน้าไปในปัจจุบันได้ในคลิปข้างล่างนี้

About The Author